Page 49 - kpiebook67039
P. 49

48     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         มีอยู่จ�ากัดหรือไม่มีนั่นเอง โดยการเข้าถึงสามารถเกิดขึ้นในลักษณะตรงไปตรงมาได้เช่นกัน

                         ตัวอย่างเช่น การรับเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของอีกองค์กรหนึ่งมาปรับใช้ ประโยชน์ส�าคัญ
                         อีกประการหนึ่งของการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรคือการใช้จุดแข็ง (Strength)

                         และทรัพยากรของแต่ละองค์กรร่วมกัน ซึ่งมีแนวโน้มจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการท�างานของ
                         องค์กรดีขึ้น อนึ่งในสภาวการณ์ที่ทรัพยากรขององค์กรมีอยู่อย่างจ�ากัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ

                         ก�าลังคน ตลอดจนองค์ความรู้เชิงเทคนิค และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน องค์กรมีแนวโน้ม
                         ที่จะแสวงหาหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนภารกิจและกิจกรรมของตน (Witesman

                         & Heiss, 2016) เพราะฉะนั้น การแสวงหา“องค์กรเพื่อนบ้าน”เพื่อร่วมท�างานจึงเป็นเรื่องปกติ
                         ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร อย่างไรก็ตาม เมื่อภารกิจหรือกิจกรรมขยายตัวมากขึ้น และ

                         องค์กรมุ่งหวังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ กลยุทธ์การท�างานจะต้องมุ่งสู่การสร้าง
                         และประสานเครือข่ายเพื่อดึงเอาทรัพยากรและความเชี่ยวชาญขององค์กรอื่น ๆ มาร่วมในการ

                         ท�างาน วิธีการท�างานเช่นนี้มีทั้งโอกาสและข้อจ�ากัด แต่โอกาสประการส�าคัญ คือการสร้างเครือข่าย
                         ที่เชื่อมต่อการท�างานที่ยั่งยืนอันจะน�ามาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาการขับเคลื่อนงาน

                         ให้ก้าวหน้า


                                 งานกลุ่มที่สองมองว่าการที่องค์กรเข้าสู่เครือข่ายจะท�าให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                         ระหว่างองค์กรเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งผ่านองค์ความรู้ ข้อมูล หรือแบ่งปันประสบการณ์ ทั้งนี้

                         การประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์กร (Knowledge transfer) ประกอบไปด้วย 4 ประการ
                         ได้แก่ การแสวงหา การเข้าถึง การย่อยและดูดซับองค์ความรู้ใหม่ ๆ และการหลอมรวม

                         องค์ความรู้ใหม่เข้ากับองค์ความรู้เดิม (Milagres & Burcharth, 2019) การแสวงหาความรู้
                         หรือข้อมูลจากองค์กรอื่นภายในเครือข่ายเป็นทางลัดที่ท�าให้องค์กรหนึ่ง ๆ ได้มาซึ่งทรัพยากร

                         ส�าคัญที่จะน�ามาใช้ปรับปรุงหรือสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อผลก�าไร
                         หรือไม่แสวงผลก�าไรก็ตาม การเข้าถึงองค์ความรู้ภายในเครือข่ายมีแนวโน้มที่จะสะดวกและ

                         ประหยัดกว่าการเข้าถึงองค์ความรู้ภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้หากพิจารณาในรายละเอียด
                         การเข้าถึงภายในเครือข่ายก็อาจจะท�าให้องค์กรได้ข้อมูลเชิงลึกหรือรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้อง

                         อาศัยความคุ้นเคยและความไว้วางใจระหว่างกันภายในเครือข่าย การย่อยและดูดซับองค์ความรู้
                         ใหม่ ๆ เป็นเรื่องของความพร้อมภายในองค์กรผู้รับว่าจะสามารถประมวลผลหรือท�าความเข้าใจ

                         กับข้อมูลหรือองค์ความรู้ชุดใหม่ได้มากน้อยเพียงใด สุดท้ายเรื่องการหลอมรวมองค์ความรู้ใหม่
                         เข้ากับองค์ความรู้เดิมเกี่ยวข้องกับการผสานของเก่ากับของใหม่เข้าด้วยกันซึ่งต้องอาศัยมากกว่า

                         เพียงการท�าความเข้าใจกับความรู้ใหม่ หากแต่จะต้องน�าสิ่งใหม่เหล่านั้นมาปรับเข้ากับข้อมูล
                         ที่มีอยู่ซึ่งอาจขัดแย้งกันหรือไม่ได้ทาบลงสนิท ในส่วนนี้จึงต้องอาศัยการตีความข้อมูลที่ได้รับมาใหม่

                         และอาจจะต้องละทิ้งความเชื่อหรือองค์ความรู้เดิม ตลอดจนความเปิดกว้างของบุคลากรหรือทีม
                         ในองค์กรในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วย
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54