Page 53 - kpiebook67039
P. 53

52     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         ที่ลดลง (Underperformance) ซึ่งเป็นผลที่อาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจอันเนื่องมาจากการเข้าสู่

                         เครือข่าย ตลอดจนการเผชิญกับสถานการณ์ที่การตัดสินใจหรือการท�างานเดินหน้าต่อไปไม่ได้
                         (Gridlock) เนื่องจากไม่สามารถท�าให้ทุกองค์กรเห็นภาพหรือมีเป้าหมายในการท�างานร่วมกัน

                         ภายในเครือข่ายได้ เช่นนี้แล้วการเข้าร่วมเครือข่ายจึงต้องมาพร้อมกับการพิจารณาที่ถี่ถ้วนและ
                         การวางกลยุทธ์ที่ชัดเจน มิเช่นนั้นแล้ว อาจเจอกับความเสี่ยงทั้งในเรื่องการไม่บรรลุภารกิจตามที่ตั้งไว้

                         และการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวให้ชัดเจน ณ ไว้ที่นี้ คือ ความขัดแย้ง
                         เป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการท�างานในลักษณะภาคีเครือข่าย (Alter, 1990) เพราะฉะนั้นการจัดการกับ

                         ความเห็นที่แตกต่างจึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกลยุทธ์ด้วย นอกจากนี้ Bunger et al. (2022)
                         ได้เสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและความสัมพันธ์ภายในเครือข่ายเพื่อให้การท�างาน

                         ร่วมกันในการน�าโครงการไปปฏิบัติยังคงด�าเนินต่อไปได้ แนวทางนี้ ได้แก่ การเพิ่มสมาชิกใหม่
                         หรือยุติการท�างานกับสมาชิกเก่าบางองค์กร ตลอดจนการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ในการท�างาน


                                 การท�างานในเครือข่ายนั้นมิได้เกิดขึ้นในสภาวะสุญญากาศ แต่เกิดภายใต้บริบท

                         เชิงสถาบัน กล่าวคือ บรรดากฎเกณฑ์ กติกา ปทัสถาน และชุดความคาดหวังจ�านวนหนึ่งจะก�ากับ
                         ความสัมพันธ์ภายในภายเครือข่าย หากอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่าง

                         องค์กรในเครือข่ายสามารถลงหลักปักฐานเป็นแบบแผนได้ ซึ่งแบบแผนนี้จะก�ากับพฤติกรรม
                         และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วย ๆ ในเครือข่าย แบบแผนความสัมพันธ์นี้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า

                         องค์กรสององค์กรมีความใกล้ชิดกันมากน้อยเพียงใด และความใกล้ชิดนี้ก็สามารถถูกประเมิน
                         ในฐานะสัญญาณที่องค์กรในเครือข่ายมีแนวโน้มที่จะท�างานร่วมกันต่อไปมากกว่าที่จะออกจาก

                         เครือข่าย น�ามาสู่ประเด็นเรื่องกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนเครือข่าย (Network allocation strategy)
                         ซึ่งสามารถท�าได้ในสองลักษณะ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสมาชิก และการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์

                         การเปลี่ยนแปลงสมาชิก คือ การเพิ่มสมาชิกใหม่หรือยุติการท�างานกับสมาชิกเก่า ในขณะที่
                         ความสัมพันธ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่สมาชิกในเครือข่ายก�าลังเผชิญอยู่ เช่น

                         การจะบรรลุเป้าหมายบางประการร่วมกันอาจต้องอาศัยการท�างานที่ใกล้ชิดกันระหว่างสมาชิก
                         ในเครือข่าย และต่างเป็นฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกันในการด�าเนินภารกิจ อนึ่งในทุกความสัมพันธ์

                         ในเครือข่ายย่อมมีปัญหาหรือความท้าทายเกิดขึ้น งานศึกษาจ�านวนหนึ่งได้เสนอแนวทาง
                         ในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้เพื่อให้สามารถรักษาเครือข่ายความร่วมมือไว้ได้ แนวทางแรก

                         เป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันจะน�ามาสู่การส่งเสริม
                         ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ (Collective capacity) (Koschmann, 2012)

                         การสื่อสารระหว่างกันอย่างสม�่าเสมอยังท�าให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกด้วย แนวทางที่สอง
                         เป็นเรื่องของการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันระหว่างองค์กรภายในเครือข่าย การท�าเช่นนี้จะช่วยให้

                         เกิดความรู้สึกร่วมระหว่างสมาชิกในเครือข่าย อันเป็นปัจจัยส�าคัญที่จะสร้างพลังร่วม (Synergy)
                         ในการท�างานให้บรรลุภารกิจร่วมกัน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58