Page 52 - kpiebook67039
P. 52

51







                             ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร Gulati et al. (2012) ย�้าว่าการปรับตัวและเปลี่ยนวิธีการ

                             ท�างานขององค์กรเพื่อให้สอดรับกับการท�างานกับภาคีเครือข่ายเป็นมิติที่ละเลยไม่ได้ในกลยุทธ์
                             การประสานเครือข่าย ดังนั้น ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการท�างานร่วมกันระหว่างองค์กรจะท�าให้

                             เกิดการเรียนรู้รูปแบบและวิธีการท�างานขององค์กรอื่นผ่านทั้งการเจรจาต่อรอง การร่วมวางแผน
                             และออกแบบวิธีการด�าเนินงาน ตลอดจนความคุ้นเคยของคณะท�างานของแต่ละองค์กร

                             ในท�านองเดียวกัน การที่องค์กรสามารถท�างานได้โดยเคลื่อนไปมาระหว่างบริบทที่ต่างกัน
                             (Inter-context connectivity) ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดขีดความสามารถในการปรับตัวขององค์กร

                             (Manning, 2019)


                                      อีกเงื่อนไขหนึ่งครอบคลุมมิติงบประมาณในการท�างาน ประเด็นนี้ส�าคัญเป็นพิเศษ
                             กับองค์กรภาคประชาสังคมที่ไม่แสวงผลก�าไรในแง่ของแหล่งทุนในการท�างานขององค์กร Jang

                             & Feiock (2007) ชี้ให้เห็นว่าการท�างานกับภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังและ
                             ความต้องการของผู้ให้ทุน ตามนัยนี้ หากผู้ให้ทุน โดยเฉพาะในภาครัฐ มุ่งหวังให้เกิดการประสาน

                             เครือข่าย ก็คาดหมายได้ในระดับหนึ่งว่าวิธีการนี้จะเพิ่มแรงจูงใจให้องค์กรผู้รับทุนยินดีที่จะท�างาน
                             ภายใต้เครือข่าย ในทางกลับกัน การแข่งขันกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงทุนประเภท

                             เดียวกันหรือแหล่งทุนเดียวกัน ก็อาจมาพร้อมกับการแข่งขันกันมากกว่าการท�างานร่วมกัน เงื่อนไข
                             ประการต่อมาเกี่ยวกับบริบทหรือสิ่งแวดล้อมที่อาจทั้งน�ามาซึ่งความส�าเร็จ และข้อจ�ากัดของ

                             การประสานงานระหว่างองค์กร มุมมองนี้ให้น�้าหนักกับวิธีการที่องค์กรรับมือหรือจัดการกับโอกาส
                             และความท้าทายที่ก�าลังเผชิญอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือบริบทที่ห้อมล้อมองค์กร (Dwyer & Oh 1987)

                             ตั้งแต่เรื่องของความใกล้ชิดกันในเชิงพื้นที่ บรรยากาศของสังคมและการเมือง ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
                             ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องหรืออาจส่งผลต่อการท�างานขององค์กร

                             ประเด็นเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรได้ทั้งสิ้น กระนั้นก็ตาม
                             พึงหมายเหตุไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่าความเข้าใจหรือทัศนะที่มีต่อบริบทและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของ

                             การรับรู้ของปัจเจกบุคคลด้วย (Duncan, 1972) หมายความว่าแต่ละคนอาจจะตีความบริบท
                             แวดล้อมเดียวกัน แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง


                                      แม้ว่างานศึกษาจ�านวนมากที่กล่าวมาในข้างต้นจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการประสาน

                             สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในรูปแบบเครือข่าย วรรณกรรมอีกชุดหนึ่งพบว่าการเข้าสู่
                             เครือข่ายไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับองค์กรเท่านั้น แต่ยังมีกรณีที่การเข้าสู่เครือข่ายไม่เป็นประโยชน์
                             กับองค์กร ยกตัวอย่างเช่น ข้อพึงระวังในการท�างานภายในเครือข่ายคือการท�างานที่ไม่ตรงกับ

                             พันธกิจขององค์กรอันจะน�ามาสู่การที่องค์กรจะต้องร่วมท�ากิจกรรมที่ไม่ตรงกับเป้าหมายของตน

                             (Jones, 2007) แม้ว่าการประสานงานระหว่างองค์กรจะมีข้อดีหลายประการ ข้อจ�ากัดที่ต้อง
                             พิจารณา คือ การท�างานในลักษณะภาคีเครือข่ายท�าให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อย
                             เพียงใด นอกจากประเด็นเรื่องเป้าหมายที่ไม่ตรงกันแล้ว ยังมีเรื่องคุณภาพในการท�างานขององค์กร
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57