Page 54 - kpiebook67039
P. 54

53







                                     รูปแบบความร่วมมือ


                                      ความร่วมมือระหว่างองค์กรเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงสามรูปแบบส�าคัญ

                             ดังต่อไปนี้


                                      รูปแบบแรก คือความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับธุรกิจ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์
                             ในลักษณะการปรึกษาหารือที่ภาครัฐและธุรกิจพูดคุยกันผ่านกลไกที่เป็นทางการ อาทิ กลไก

                             คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อที่จะท�าความเข้าใจซึ่งกันและกัน และพยายาม
                             แสวงหาทางออกร่วมกันหากมีประเด็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข ในระดับท้องถิ่น ภาครัฐ

                             และภาคเอกชนอาจร่วมกันจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนได้เช่นกัน ถือว่าเป็นรูปแบบ
                             ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนอีกแบบหนึ่ง


                                      รูปแบบที่สอง คือความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับองค์กรภาคประชาสังคม ในปัจจุบัน

                             ความท้าทายจ�านวนมากท�าให้องค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคมจะต้องเข้าสู่การเป็นหุ้นส่วน
                             เพื่อขับเคลื่อนประเด็นบางประการร่วมกัน โดยอาศัยทรัพยากรและความถนัดของทั้งสองฝ่าย

                             ภาครัฐมีทรัพยากรที่จ�าเป็นจ�านวนมาก แต่ขาดความยืดหยุ่นในการท�างานด้วยข้อจ�ากัดของ
                             กฎระเบียบ ในขณะที่องค์กรภาคประชาสังคมมีแนวโน้มที่จะยืดหยุ่นกว่า แต่ทรัพยากรที่จ�าเป็น

                             ในการท�างานอาจมีอยู่อย่างจ�ากัด การเข้าสู่การท�างานร่วมกันจะท�าให้ทั้งสองฝ่ายสามารถลดผลกระทบ
                             จากปัญหาที่แต่ละฝ่ายเผชิญได้


                                      รูปแบบที่สาม คือความสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจกับองค์กรภาคประชาสังคม ในปัจจุบัน

                             องค์กรภาคธุรกิจจะต้องด�าเนินการอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล หากกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
                             ก็คือบริษัทจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social

                             Responsibility) แนวคิดนี้ท�าให้ภาคธุรกิจกับองค์กรภาคประชาสังคมท�างานร่วมกันมากยิ่งขึ้น
                             อย่างไรก็ตามในอีกหลายกรณี ความสัมพันธ์ก็เป็นไปในลักษณะความขัดแย้งหรือการแข่งขันได้

                             เช่นกัน




                                     สรุปสาระส�าคัญและนัยต่องานวิจัยนี้


                                      ประการแรก กระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีความยั่งยืนและ
                             ช่วยให้แต่ละองค์กรในเครือข่ายความร่วมมือสามารถบรรลุเป้าหมายเกิดจากความสมัครใจ

                             ในการท�างานร่วมกัน การแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากร การไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างทีมงานขององค์กรใน
                             เครือข่าย และการสื่อสารกันอย่างสม�่าเสมอ บทเรียนที่ส�าคัญต่อการวิจัยในครั้งนี้ คือการพิจารณา

                             กลยุทธ์การใช้เกม Sim Democracy จากมุมมองของเครือข่ายความร่วมมือ กล่าวคือ การวิจัย
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59