Page 50 - kpiebook67039
P. 50

49







                                      งานกลุ่มที่สามพิจารณาในเรื่องความสามารถของเครือข่ายองค์กรในการร่วมสร้าง

                             (Co-create) นวัตกรรม Powell (et al., 1996) อธิบายว่าภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมที่ต้อง
                             อาศัยองค์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ความร่วมมือระหว่าง

                             องค์กรในเครือข่ายจะเป็นสิ่งที่มีความส�าคัญ เพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน
                             ตลอดจนพึ่งพาทักษะความสามารถและความช�านาญเฉพาะด้านของบุคลากรในแต่ละองค์กร

                             ภายในเครือข่ายในการสร้างหรือเร่งรัดนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้ Hagedoorn (1993) ค้นพบว่า
                             ในภาคเอกชน พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยี (Strategic technology alliance) ก็ช่วย

                             ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม แรงจูงใจที่ท�าให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม
                             ได้แก่


                                      1.  การร่วมวิจัยและพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มาจากลักษณะของเทคโนโลยี

                                         สมัยใหม่ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ และวิทยาการจากหลายภาคส่วนอุตสาหกรรม
                                         (Industrial sector) เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์

                                         และยานยนต์ ต่างก็ต้องท�างานร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ


                                      2.  การลดความเสี่ยงจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่มีความไม่แน่นอน
                                         (Uncertainty) ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าผลการวิจัยจะถูกน�ามาพัฒนา
                                         และน�าออกสู่ตลาดได้อย่างประสบความส�าเร็จ


                                      3.  การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน โดยองค์ความรู้นี้รวมถึงความรู้

                                         เฉพาะตัว (Tacit knowledge) ด้วย


                                      4.  การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ และเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ


                                      เครือข่ายองค์กรในการร่วมสร้าง นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่
                             เช่น การที่องค์กรภายในเครือข่ายจัดตั้งอยู่บริเวณเดียวกันซึ่งเอื้ออ�านวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                             ระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ความใกล้ชิดกันของเครือข่ายภายในพื้นที่หรือภูมิภาคเดียวกันมิได้น�ามา
                             สู่ความเข้มข้นในกิจกรรมทางนวัตกรรมโดยอัตโนมัติ หากจะต้องพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียด

                             เช่น องค์ประกอบของตัวแสดงในภูมิภาคนั้น และเนื้องานขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง
                             การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ว่าจ�าเป็นมากน้อยเพียงใด (Love & Roper, 2001)


                                      การทบทวนวรรณกรรมข้างต้นแสดงให้เห็นแรงจูงใจขององค์กรในการเข้าร่วมเครือข่าย

                             ตลอดจนประโยชน์ที่เกิดจากการเข้าร่วมเครือข่าย ในล�าดับต่อไปการทบทวนวรรณกรรมจะเคลื่อน
                             ไปสู่ประเด็นเรื่องความส�าเร็จของเครือข่าย โดยนิยามของความส�าเร็จในที่นี่คือเครือข่ายความร่วมมือ

                             ระหว่างองค์กรมีความยั่งยืน มิใช่เพียงการรวมตัวเป็นครั้งคราว ในแง่นี้ความท้าทายจึงเป็นเรื่องของ
                             การรักษาเครือข่ายให้ด�ารงอยู่ในระยะยาวทั้งนี้ในเมื่อการประสานเครือข่ายการท�างานอย่างยั่งยืน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55