Page 46 - kpiebook67039
P. 46

45







                                     ความร่วมมือภายในและระหว่างกลุ่มภายในองค์กร


                                      ความสัมพันธ์ระหว่างทีม (Inter-team relationship) เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ

                             ของกลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์กร และกระบวนการเรียนรู้ขององค์กร (Organizational learning)
                             ประเด็นที่ต้องท�าความเข้าใจให้ชัดในเบื้องต้น คือ กระบวนการเรียนรู้ขององค์กรเป็นกระบวนการ

                             ที่มีพลวัตสูง และต้องอาศัยความต่อเนื่อง (Dodgson, 1993) อีกทั้งองค์กรหนึ่ง ๆ ก็สามารถ
                             ประกอบไปด้วยทีมมากกว่าหนึ่งทีม แต่ละทีมต่างก็ได้รับมอบหมายภารกิจที่แตกต่างกันออกไป

                             และมีเป้าหมาย องค์ประกอบภายในทีม และทรัพยากรที่ต่างกันออกไป ความสัมพันธ์ระหว่าง
                             แต่ละทีมในองค์กรก็สามารถส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล

                             ตลอดจนเป็นการช่วยให้เกิดการระดมทรัพยากร และความสามารถของแต่ละทีมเพื่อแก้ปัญหา
                             และท�าภารกิจให้ลุล่วง หากโยงกับประเด็นความร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลที่ได้อภิปราย

                             ในส่วนก่อนหน้า จะพบความเชื่อมโยงระหว่างทีมกับสมาชิกภายในทีม ยกตัวอย่างเช่น Geister,
                             Konradt,  and  Hertel  (2006) เสนอว่ากระบวนการให้ผลสะท้อนกลับในทีม (Team process

                             feedback) เป็นสิ่งส�าคัญในการสร้างความไว้วางใจภายในทีมและสร้างแรงผลักดัน (Motivation)
                             อันจะน�ามาสู่ผลลัพธ์ในการท�างานที่มีประสิทธิภาพของทีมยิ่งขึ้น


                                      ยิ่งไปกว่านั้น ในบริบทของโลกปัจจุบันที่มีความท้าทายหลายชุดเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

                             ความร่วมมือระหว่างทีมจ�านวนมาก และพ้นไปจากขอบเขตขององค์กรใดองค์กรหนึ่งก็ได้เกิดขึ้น
                             Mathieu, Marks and Zaccaro (2001) เรียกสิ่งนี้ว่าระบบระหว่างทีมจ�านวนมาก (Multiteam

                             system) โดยนิยามของแนวคิดนี้คือ


                                              “ทีมจ�านวนสองทีมหรือมากกว่านั้นมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงและพึ่งพากัน
                                     เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอน การก�าหนดขอบเขต

                                     ของระบบระหว่างทีมจ�านวนมากขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของเป้าหมายร่วมระหว่างทีมภายใน
                                     ระบบอย่างน้อยหนึ่งเป้าหมาย และเป้าหมายนี้สะท้อนออกมาผ่านการพึ่งพากันในมิติ

                                     ปัจจัยน�าเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ อย่างน้อยหนึ่งมิติ ระหว่างทีมในระบบ” (น. 290)



                                      นิยามข้างต้นมีนัยดังนี้ ประการแรก ความสัมพันธ์ระหว่างทีมไม่จ�าเป็นจะต้องเกิดขึ้น

                             ภายในองค์กรเดียวกันเท่านั้น ประการที่สอง นิยามนี้ให้น�้าหนักกับเป้าหมายที่มีร่วมกันระหว่าง
                             ทีมในระบบอย่างน้อยหนึ่งเป้าหมาย เพราะฉะนั้นเป้าหมายหลักที่ทุกทีมเห็นพ้องต้องกันจึงมี

                             ความส�าคัญในฐานะสิ่งซึ่งยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างทีมต่าง ๆ ในระบบเข้าด้วยกัน ประการที่สาม
                             สภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอนเป็นแรงจูงใจให้ทีมต่าง ๆ เข้ามาท�างานร่วมกันหรือประสานงานกัน

                             ในแง่นี้สิ่งที่เป็นบทเรียนส�าคัญ คือ ภายใต้วิธีคิดนี้ ขอบเขตของทีมจะไม่ทึบและปิด หากแต่อนุญาต
                             ให้เกิดการซึมผ่านจากภายนอกได้ (Porous) อีกอย่างหนึ่งที่ส�าคัญ คือเรื่องการมองเห็นภาพร่วมกัน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51