Page 44 - kpiebook67039
P. 44
43
กระบวนการเกมจะกลายเป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดการต่อยอดด้วยตนเองของผู้เข้าร่วมได้อย่างไร
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง อาทิ บุคลิกของผู้เข้าอบรม แรงจูงใจ สภาพแวดล้อมหรือบริบททางสังคม และ
ความสามารถหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ก่อนนั้น ในแต่ละครั้งที่จัดกระบวนการเกมขึ้นมีอะไร ส่งผลต่อ
ผลลัพธ์อย่างไร และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไร
งานวิจัยชิ้นนี้ที่ต้องการศึกษาเรื่องของกลยุทธ์ในการจัดกระบวนการเกมเพื่อเสริมทักษะ
จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความส�าคัญต่อปัจจัยและตัวแปรต่าง ๆ ตามรูปแบบและกรอบแนวคิด
ที่ได้มีการศึกษาวิจัยมาก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการส�ารวจและเข้าใจกระบวนการเกม Sim
Democracy ที่ได้มีการน�าไปใช้จริงในแต่ละภาคส่วน เพื่อที่สุดท้ายจะได้น�าไปสู่ข้อเสนอแนะ
และการปฏิบัติจริงที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.6 ความร่วมมือและกลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่าย
นิยาม กรอบแนวคิด และองค์ประกอบของความร่วมมือ
ความร่วมมือเป็นกรอบแนวคิดที่สามารถน�ามาประยุกต์ใช้ในหลายระดับไม่ว่าจะเป็น
ความร่วมมือระหว่างบุคคล ความร่วมมือระหว่างกลุ่มภายในองค์กร ความร่วมมือระหว่างองค์กร
หรือหน่วยงานทั้งในภาคส่วนเดียวกัน และในภาคส่วนที่แตกต่างกัน นิยามของความร่วมมือ
จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปในแต่ละระดับของความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม ลักษณะร่วม
ที่สามารถยึดเป็นแก่นของความร่วมมือคือความสมัครใจในการท�ากิจกรรมบางอย่างร่วมกันระหว่าง
หน่วยจ�านวนสองหน่วยขึ้นไป โดยหน่วยนี้อาจเป็นบุคคล องค์กร หรือหน่วยทางสังคมรูปแบบอื่น ๆ
ในแง่นี้ความสัมพันธ์ที่เกิดจากความร่วมมือจึงขึ้นอยู่กับว่าทั้งสองหน่วยเห็นประโยชน์ร่วมกัน
มากน้อยเพียงใดในการที่จะเข้าสู่ความร่วมมือ และความร่วมมือนี้จะท�าให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย
ร่วมกันหรือไม่ ในล�าดับถัดไป การทบทวนวรรณกรรมจะครอบคลุมความร่วมมือในสี่ระดับ
ได้แก่ ระดับระหว่างปัจเจกบุคคล ระดับภายในและระหว่างกลุ่มภายในองค์กร ระดับระหว่าง
องค์กร และระดับของสังคม
ความร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคล
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลให้ความส�าคัญกับเรื่อง
แรงจูงใจและพฤติกรรมของบุคคลในการเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบความร่วมมือ ตลอดจน เครือข่าย
ส่วนบุคคล (Personal network) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการท�างานของตัวบุคคลและองค์กร