Page 40 - kpiebook67039
P. 40

39







                             และประสบการณ์ และ ระดับที่ 2 ระหว่างการสื่อสารและประสานงานกับคนอื่น เช่นเดียวกัน

                             กับ Bulbul (n.d.) ที่บอกว่ากระจัดกระบวนการ คือการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก
                             ในชุมชนที่มาจากหลากหลายระดับแตกต่างกัน


                                      Groot and Maarleveld (2000) เสนอ 3 รูปแบบของการจัดกระบวนการเพื่อ

                             การเรียนรู้ ประกอบไปได้

                                      1.  กระบวนการข้างในหรือข้างนอก (Inside or outside process) กล่าวถึง ระดับ
                                         การเข้าไปมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ มากน้อยหรือลึกซึ้งเท่าใด

                                      2.  การสะท้อนหรือการแก้ไขปัญหา กล่าวถึง รูปแบบที่ต้องการเนื้อหาในเชิงบริบท

                                         หรือเชิงวิเคราะห์

                                      3.  การไกล่เกลี่ยแบบเชิงบูรณาการหรือเชิงกระจาย (Integrative and distributive

                                         mediation style) กล่าวถึง ระดับการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ประสานงานของ
                                         ผู้น�ากระบวนการ


                                      ในการจัดกระบวนการแต่ละครั้ง มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์

                             ที่ต้องการ ทว่าในการเตรียมการ มีขั้นตอนทั้งสิ้น 4 ขั้นตอน (Berta et al, 2015) ได้แก่
                             1. การวางแผน 2. การบริหารและชี้แนะ 3. การติดตามความคืบหน้าและการปฏิบัติที่เกิดขึ้น

                             และ 4. การประเมินผล


                                      ฉะนั้นแล้ว จึงเห็นได้ว่าการจัดกระบวนการนั้น คือ การกระท�า (Action) ระหว่างตัวแสดง
                             ที่อาจจะเป็นได้ทั้งตนเองและคนอื่นที่มีความหลากหลาย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคม

                             ซึ่งน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือการบรรลุซึ่งเป้าประสงค์อะไรบางอย่างร่วมกัน

                                     3. ผลลัพธ์ของกระบวนการ (Outcome)


                                      ผลลัพธ์ หรือความส�าเร็จจากการจัดกระบวนการนั้นมีหลากหลาย Berta et al (2015)

                             เสนอว่าผลลัพธ์นั้นมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1. ระดับปัจเจกบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง
                             ในความคิดหรือวิถีทางบางอย่าง 2. ระดับระบบย่อย เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับของการท�างาน

                             ร่วมกันของกลุ่ม หรือปัจเจกหลายคน 3. ระดับองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของโครงสร้าง
                             และวัฒนธรรมองค์กร จากค�าอธิบายนี้ กล่าวได้ว่าผลลัพธ์ของการจัดกระบวนการ คือการเกิดขึ้น

                             ของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ละทิ้งโครงสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพแบบเก่า ทั้งนี้ ผลลัพธ์
                             ที่เกิดขึ้นนั้นคือความส�าเร็จที่แท้จริงของการจัดกระบวนการหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าหลังเสร็จสิ้น

                             กระบวนการ และการเดินออกจากการปฏิสัมพันธ์นั้นของผู้น�ากระบวนการแล้ว ปัจเจกหรือกลุ่ม
                             ยังสามารถที่จะสานต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาได้อยู่หรือไม่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45