Page 37 - kpiebook67039
P. 37
36 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
2.4 แนวคิดเรื่องกลยุทธ์ ในการจัดกระบวนการ
นิยาม กรอบแนวคิด ของกลยุทธ์ในการจัดกระบวนการ
ประโยค “เรามิอาจสอนคนอื่นโดยตรง เราท�าได้เพียงการอ�านวยความสะดวกให้เขา
สามารถเรียนรู้ได้”(We cannot teach another person directly, we can only facilitate
his learning) ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการจัดกระบวนการ (Facilitation) กล่าวโดย
Carl Roger (1951) นักจิตวิทยามนุษยนิยมชาวอเมริกันที่ได้รับอิทธิพลมาจากสายจิตวิทยา
ที่ปัจเจกเข้ารับการรักษา และรับค�าแนะน�าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของตนเองจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
ด้วยสภาพบริบทดังกล่าว เขาจึงได้ตั้งค�าถามกับวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม โดยมองว่า แท้จริงแล้ว
ปัจเจกเองนั้นก็มีความสามารถในการปรับปรุงหรือท�าให้ตนเองบรรลุศักยภาพ (Actualize)
กล่าวคือ ปัจเจกไม่จ�าเป็นจะต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขหรือก�ากับการกระท�าของตนเอง แต่สามารถ
เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาของตนเองได้ แนวคิดดังกล่าวนี้ น�าไปสู่การก่อร่างของการสนับสนุนการเรียนรู้
ผ่านประสบการณ์เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ด้วยปัจเจกเอง
Kaner (2014) ศึกษาย้อนกลับไปถึงรากฐานของการจัดกระบวนการ การจัดกระบวนการ
ในรูปแบบกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างเช่น การนั่งล้อมวงของชนเผ่า
กิจกรรมหรือกระบวนการนั้นได้ถูกพัฒนามาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปี 1980 ที่การจัดกระบวนการ
เริ่มได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในฐานะของเครื่องมือที่ช่วยให้ปัจเจกสามารถออกแบบอนาคต
ของตนเองได้ (Kaner, 2014: xiii) การให้ค�านิยามของ Kaner นั้นคล้ายคลึงกับแนวคิดตั้งต้น
ของ Roger ที่เน้นไปยังความสามารถของปัจเจก ผ่านเครื่องมือหรือการสร้างสภาวะที่เอื้อต่อ
ปัจเจกในการบรรลุเป้าหมายนั้นด้วยตนเอง ซึ่ง Groot & Marrleveld (2000) ได้อธิบายถึง
ความเป็นเครื่องมือหรือการสร้างบรรยากาศแวดล้อมไว้ว่าการจัดกระบวนการนั้น คือการบริหาร
สถานการณ์มากกว่าการบริหารกระบวนการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการเรียนรู้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้เอง
ผ่านความช่วยเหลือของผู้จัดกระบวนการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มากกว่าการเตรียมว่า
สิ่งที่ปัจเจกจะต้องได้เรียนรู้ ประกอบไปด้วยเนื้อหาเช่นนั้นเช่นนี้
ส�าหรับ Berta et al (2015) ให้นิยามการจัดกระบวนการผ่านทฤษฎีการเรียนรู้ขององค์กร
(Organizational learning theory) ว่า ความสามารถในการเก็บเกี่ยวและน�าองค์ความรู้ใหม่
มาปรับใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพในการท�างาน ทั้งยังเป็นกระบวนการทางสังคม (Social process)
ที่มีปัจจัยทางความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ยังให้ความส�าคัญกับ
แก่นแท้ของการจัดกระบวนการว่า เป็นการเปิดให้ปัจเจกแต่ละคนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ
ได้อย่างเหมาะสม (Berry, 1993)