Page 36 - kpiebook67039
P. 36

35







                             และน�าเสนอตัวอย่างข้างต้น จะพบว่าเกมที่มีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนทางสังคม ซึ่งรวมไปถึง

                             เกมที่เกี่ยวกับการสร้างพลเมืองเข้มแข็งมักจะประกอบไปด้วยสองมิติ ได้แก่ มิติเชิงทฤษฎี
                             และมิติเชิงปทัสถาน หมายความว่า เนื้อหาและกลไกของบอร์ดเกมประกอบไปด้วยองค์ความรู้

                             เชิงทฤษฎีที่เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับผู้เล่น และค�าถามเชิงปทัสถานที่กระตุ้นให้ผู้เล่นได้พิจารณา
                             คุณค่าของแนวความคิดหรือชุดอุดมการณ์บางอย่าง


                                      ก่อนที่จะไปสู่การวิเคราะห์ มีอีกสามประเด็นที่ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ ประการแรก การน�า

                             เกมไปใช้มิได้เกิดผลโดยตรงในทันที หากกล่าวให้เห็นภาพ การเล่นเกมเพียงครั้งเดียวมิได้ท�าให้
                             สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงในทันใด นอกจากนี้การใช้บอร์ดเกมในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกันไป

                             หมายความว่า เกมก็มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับการเล่นในแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับการผสมผสานระหว่าง
                             ปัจจัยต่าง ๆ เช่น เป้าหมายของผู้เล่น เป้าหมายของผู้ผลิตเกม เป้าหมายขององค์กรที่น�าเกมไปใช้

                             ความคาดหวังของประชาคมผู้เล่น และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Steinkuehler,
                             2006) ประการที่สอง ความท้าทายในการน�าบอร์ดเกมที่เกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองไปใช้ในชั้นเรียน

                             คือเรื่องเป้าหมายของความเป็นพลเมืองซึ่งเป็นประเด็นที่ยังต้องได้รับการถกเถียงต่อไปและ
                             ไม่สามารถแยกขาดจากบริบททางการเมืองที่แวดล้อมอยู่ ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเชื่อม

                             เข้ามาสู่กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้เกม (Raphael et al., 2010: 202) ประการที่สาม ต้องไม่ลืม
                             ว่าหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตร การร่วมกิจกรรมทางการเมืองนอกสถาบันการศึกษา

                             การพูดคุยประเด็นทางการเมืองในครอบครัวล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถมีผลต่อความเป็นพลเมือง
                             เข้มแข็ง (Andolina et al., 2003) เพราะฉะนั้นบอร์ดเกมจึงเป็นแค่หนึ่งในปัจจัยจ�านวนมาก

                             ที่จะช่วยหล่อหลอมให้เกิดสังคมพลเมืองเข้มแข็ง




                                     สรุปสาระส�าคัญและนัยต่องานวิจัยนี้


                                      กล่าวโดยสรุป การทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้พบว่ามีการน�าบอร์ดเกมไปใช้เพื่อ

                             สันทนาการในลักษณะงานอดิเรก (Hobby) การศึกษา และการชี้แนะ (Education and instruction)
                             การปรับทิศทาง (Intervention) และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) ทั้งนี้
                             บอร์ดเกมโดยตัวเองไม่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ได้ หากแต่จะช่วยส่งพลังขับเคลื่อน

                             ความเปลี่ยนแปลงได้ หากถูกจัดวางในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองในระยะยาวอย่างเป็น

                             ระบบ อนึ่งแม้ว่าการวิจัยในครั้งนี้จะไม่ได้มุ่งพิเคราะห์หลักการ และปรัชญาของการออกแบบเกม
                             แต่ก็ตระหนักในประเด็นส�าคัญที่ว่าบอร์ดเกมที่ประสบความส�าเร็จจะต้องผ่านการออกแบบ
                             และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการลงทุนทั้งในทรัพยากร และเวลาที่ค่อนข้างสูง

                             เพื่อให้ได้มาซึ่งบอร์ดเกมที่มีคุณภาพ (Coil et al., 2017) ดังนั้นการวิเคราะห์เกม Sim Democracy

                             จึงต้องให้น�้าหนักกับเรื่องการปรับปรุงเกมและกระบวนการน�าไปใช้ด้วย
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41