Page 39 - kpiebook67039
P. 39
38 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
แนวคิดดังกล่าวนี้ คือการเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้เชี่ยวชาญทางองค์ความรู้หนึ่ง
(Content expert) ไปสู่ผู้อ�านวยกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Facilitator of learning)
โดยให้ความสนใจแก่ผู้ที่ได้รับสาร (Learner-center) เป็นส�าคัญ (Gunawardena, 1992)
Carl Roger ได้ยกเงื่อนไขส�าคัญของการเป็นจิตแพทย์ ซึ่งพบว่ามีความสอดคล้องกับ
การเป็นผู้จัดกระบวนการที่ดี เงื่อนไขทั้ง 3 ประกอบด้วย
1. การเป็นสายใยของการบูรณาการในความสัมพันธ์ กล่าวคือ มีความตระหนักรู้
ถึงประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลที่หลากหลาย รวมถึงทัศนคติของตนเอง
ต่อปัจเจกบุคคลที่เข้าร่วมด้วย เพื่อที่จะสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
2. การมองปัจเจกบุคคลในเชิงบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional positive regard)
หรือมีการเปิดรับในทุกประสบการณ์ ไร้ซึ่งอคติต่อประสบการณ์และความรู้ของเขา
3. มีความเข้าอกเข้าใจและเอาใจใส่ และท�าให้ปัจเจกรู้สึกว่าตนเองนั้นใส่ใจกับ
ประสบการณ์ของเขา
จากเงื่อนไขดังกล่าวนี้ สังเกตได้ว่ามีการพยายามเน้นย�้าถึงความเปิดกว้างของ
ตัวผู้จัดกระบวนการเพื่อสร้างบรรยากาศ และความไว้ใจให้แก่ปัจเจกบุคคลที่เข้าร่วม นอกจากนี้
Svensson and Magnusson (2003) ยังกล่าวรวมไปถึงการมีประชาธิปไตยภายในการจัด
กระบวนการ ซึ่งผู้จัดนอกจากจะต้องมีความเปิดกว้างและจริงใจแล้ว ยังควรปรับรูปแบบให้มี
ความเป็นประชาธิปไตยที่ผู้เข้าร่วมทุกคนมีความเท่าเทียมเพื่อการท�างานร่วมกันไปสู่จุดมุ่งหมาย
ทั้งยังต้องสังเกตให้เห็นถึงความไม่สมดุลทางสถานะอ�านาจในกระบวนการ (Bulbul, n.d.)
เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ความคิดเห็น และประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ การเป็นผู้จัดกระบวนการยังมีความแตกต่างจากบทบาทอื่นอีกด้วย อาทิ
ผู้ชี้แนะ (Mentor) ซึ่งเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญที่ให้ค�าชี้แนะกับมือใหม่ (Novice) โดยมี
ความสัมพันธ์ในรูปแบบล�าดับชั้น (Hierarchical relationship) ในขณะที่โค้ช (Coach) เป็นบทบาท
ของการติดตามและสังเกตการณ์ ให้ก�าลังใจและช่วยส่งเสริมแก่ปัจเจกเสียมากกว่า เป็นปัจเจกเอง
ที่จะเข้าหาโค้ชเพื่อขอความช่วยเหลือและถอดบทเรียน
2. กระบวนการของการจัดกระบวนการ (Facilitation process)
Berta et al (2015) กล่าวว่าการจัดกระบวนการคือกระบวนการสองทาง (Two-way
process) ของการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการสร้างความเชื่อใจในความสัมพันธ์และเป้าหมายร่วม
Murphy (2005) เองก็อธิบายถึงการจัดกระบวนการในลักษณะคล้ายคลึงกับ Berta et al
ว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์ใน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ระหว่างตนเองผ่านการสะท้อนทางความคิด