Page 41 - kpiebook67039
P. 41

40     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 สรุปสาระส�าคัญและนัยต่องานวิจัยนี้


                                 ประการแรก เนื่องด้วยกรอบแนวคิดของการจัดกระบวนการที่ให้ความส�าคัญกับปัจเจก

                         ที่เข้าร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับการเล่นบอร์ดเกมที่ต้องการสร้างประสบการณ์จ�าลอง
                         ให้ผู้เล่นสามารถสะท้อนความคิด และเกิดเป็นความตื่นตัวทางการเมือง และความเป็นพลเมืองได้

                         การจัดกระบวนการผ่านการน�า Sim Democracy มาเป็นเครื่องมือเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้
                         จึงมีความส�าคัญต่องานวิจัยชิ้นนี้ต้องการศึกษาถึงกลยุทธ์ในการจัดกระบวนการเกมเพื่อเสริมทักษะ

                         การเป็นพลเมือง ในแง่ของความสอดคล้องทางกรอบแนวคิดระหว่างเครื่องมือและกระบวนการ


                                 ประการที่สอง จากการศึกษาถึงองค์ประกอบทั้ง 3 ของการจัดกระบวนการ เกิดเป็น
                         การตั้งค�าถามต่อกระบวนการเกม Sim Democracy ได้ว่า ในแง่ของบทบาทผู้น�ากระบวนการ

                         ต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแง่ของกระบวนการ
                         ต้องมีรูปแบบของการจัดกระบวนการแบบไหนถึงจะมีประสิทธิภาพน�าไปสู่เป้าหมายในการสร้าง

                         ทักษะของพลเมือง และในแง่สุดท้ายหรือผลลัพธ์ ทักษะของพลเมืองแบบใดและในระดับใด
                         ที่ต้องการหลังจากการผ่านกระบวนการเกม






             2.5 การถ่ายทอดและประยุกต์ ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม



                                 นิยาม กรอบแนวคิด ของการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม


                                 Cheng & Hampson (2008) ได้สรุปกรอบแนวคิดของการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้
                         ความรู้จากการฝึกอบรมไว้ 3 ช่วงด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น


                        1. ช่วง 1960s ถึง 1980s


                                 กล่าวได้ว่าในยุคนี้เป็นยุคตั้งต้นของการนิยามและการสร้างกรอบแนวคิดของการถ่ายทอด

                         และประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม ผู้ที่เสนอแนวคิดในยุคแรกได้แก่ Kirkpatrick (1967)
                         ซึ่งได้เสนอว่าการฝึกอบรมนั้นประกอบด้วย 4 ระดับ ได้แก่ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ถูกฝึก

                         (Reactions) การเรียนรู้ (Learning) พฤติกรรม (Behavior) ว่าการเรียนรู้นั้นได้มีการส่งต่อไป
                         ยังการท�างานหรือไม่ และ ผลลัพธ์ (Result) กรอบแนวคิดของ Kirkpatrick มีอิทธิพลและ

                         ได้กลายมาเป็นฐานของการศึกษาเรื่องการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม
                         เพื่อการต่อยอดทางทฤษฎีและการปฏิบัติในเวลาถัดมา ต่อมางานศึกษาได้เพิ่มอีก 1 ระดับเข้าไปนั้น

                         คือ การค�านวณผลตอบแทนของการลงทุน หรือการฝึกอบรม (Return on investment : ROI)
                         จนเกิดเป็นรูปแบบ 4 บวก 1 แต่ไม่ได้รับการน�าไปใช้อย่างแพร่หลายนัก เนื่องจากการค�านวณ

                         ผลตอบแทนจากการฝึกอบรมเป็นสิ่งที่ยังท�าได้ยาก (Hamblin, 1974; Phillips, 1986)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46