Page 45 - kpiebook67039
P. 45

44     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         ในประเด็นเครือข่ายส่วนบุคคล Collins and Clark (2003) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการ

                         พัฒนาบุคลากร เครือข่ายของคณะผู้บริหาร และประสิทธิภาพองค์กร ผลการศึกษาพบว่าวิธีการ
                         พัฒนาบุคลากรที่น�ามาสู่การพัฒนาเครือข่ายของคณะผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิภาพองค์กรที่สูงขึ้น

                         ในแง่นี้กล่าวได้ว่าเครือข่ายส่วนบุคคลเป็นทรัพยากรที่ส�าคัญขององค์กร ในท�านองเดียวกัน
                         หนึ่งในข้อค้นพบจากการศึกษาโดย Love et al. (2021) คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหมู่

                         นักวิทยาศาสตร์ที่มาจากสาขาวิชาที่แตกต่างหลากหลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้เกิด
                         ความก้าวหน้าในการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะสหวิทยาการ อันเป็นประเด็นส�าคัญ

                         ในโลกยุคปัจจุบันที่ปัญหาหรือความท้าทายมีความซับซ้อน และการพึ่งพาองค์ความรู้ชุดเดียว
                         อาจไม่เพียงพอ บทเรียนที่ส�าคัญจากงานชิ้นนี้ คือการให้ความส�าคัญกับภูมิหลังของแต่ละคน

                         ซึ่งเปรียบเสมือนสิ่งมีค่า (Asset) ที่แต่ละคนถือครอง หากน�ามาใช้ร่วมกัน ก็อาจจะช่วยให้เกิด
                         ผลลัพธ์เชิงบวกในระดับที่ใหญ่ขึ้น


                                 อีกปัจจัยหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการประสานสร้างความร่วมมือระหว่างบุคคลคือ

                         มิติทางอารมณ์ความรู้สึก แน่นอนว่ามนุษย์ย่อมมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีกับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งก็เป็น
                         ปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ในการพิจารณาแรงจูงใจของบุคคลในการเข้าสู่ความร่วมมือกับอีกคนหนึ่ง

                         งานศึกษาชิ้นส�าคัญของ Parker and Hackett (2012) น�าเสนอผลการศึกษาว่าอารมณ์ความรู้สึก
                         มีความสัมพันธ์กับการเติบโตและพัฒนาการของกลุ่ม กล่าวคือ อารมณ์ความรู้สึกมีศักยภาพ

                         ในการน�าบุคคลเข้ามาใกล้ชิดกันหรือตรึงบุคคลเหล่านั้นไว้ด้วยกัน ดังนั้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์
                         และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่อยู่ในการประสานสร้างความร่วมมือ

                         (Mansilla et al., 2006) ในประเด็นสุดท้ายที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างบุคคล งานศึกษา
                         ในสาขาจิตวิทยา เช่น Porter and Woo (2015) พยายามจะตอบค�าถามว่าเพราะเหตุใดบุคคล

                         จึงร่วมมือกันจากมุมมองทางจิตวิทยา การศึกษานี้เริ่มต้นจากการมองว่าการเข้าสู่เครือข่ายเป็น
                         ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา จากมุมมองนี้พฤติกรรมการเข้าสู่เครือข่ายจึงเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ

                         เช่น ความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลอื่น ข้อมูลดังกล่าว
                         จะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย (Update) อยู่เสมอในทุกครั้งที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเป็น

                         หนึ่งในปัจจัยที่ท�าให้แต่ละคนตัดสินใจอย่างมีกลยุทธ์ว่าจะปฏิบัติตนในความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างไร
                         บทเรียนที่ส�าคัญจากการทบทวนวรรณกรรมในกลุ่มนี้ คือ การสร้างความเข้าใจว่าความร่วมมือ

                         ระหว่างบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่มีมิติภายในของแต่ละบุคคล (Intra-individual dimension)
                         ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึก และการท�าความเข้าใจกับบุคคลอื่นอย่างสม�่าเสมอ

                         ในแต่ละครั้งที่มีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาในจังหวะที่มีการตัดสินใจว่า
                         จะเข้าสู่ความร่วมมือกับบุคคลอื่นหรือไม่
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50