Page 48 - kpiebook67039
P. 48
47
ด�าเนินภารกิจที่ตนเองไม่ได้เชี่ยวชาญ ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญขององค์กรอื่น ๆ ผ่านการประสาน
ความร่วมมือ การท�างานอย่างโดดเดี่ยวจึงเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมในบริบทปัจจุบัน
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรมีรากฐานส�าคัญ คือทฤษฎีเครือข่ายสังคม
(Social networks theory) สาระส�าคัญของทฤษฎี คือความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยต่าง ๆ
Wasserman & Faust (1994: 4) ขยายความต่อว่าเครือข่ายสังคมพึงมีลักษณะดังนี้
ประการแรก ตัวแสดงและการแสดงออกเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน มิใช่ปรากฏการณ์
ที่แยกขาดจากกัน
ประการที่สอง ความเชื่อมโยงระหว่างตัวแสดงท�าหน้าที่เป็นช่องทางในการส่งผ่าน
ทรัพยากรทั้งที่เป็นสิ่งซึ่งจับต้องได้ และจับต้องมิได้
ประการที่สาม โครงสร้างแวดล้อมของเครือข่ายสามารถเป็นทั้งโอกาส และข้อจ�ากัด
ต่อการกระท�าของแต่ละบุคคล
ประการที่สี่ โครงสร้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
สามารถมองได้ว่าเป็นแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดง
หากพิจารณาความร่วมมือระหว่างองค์กรภายใต้คุณลักษณะของเครือข่ายสังคม
ที่น�าเสนอข้างต้น มีสองประเด็นใหญ่ที่สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการอภิปรายดังนี้ ประเด็นแรก
องค์กรภายในเครือข่ายย่อมแลกเปลี่ยนทรัพยากรทั้งที่จับต้องได้ เช่น เงินหรือเทคโนโลยี และ
ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ความรู้หรือข้อมูล ระหว่างกัน ประเด็นที่สอง ความร่วมมือระหว่างองค์กร
เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างเชิงสถาบันชุดหนึ่ง
เรื่องถัดมาที่ต้องท�าความเข้าใจ คือแรงจูงใจที่ท�าให้องค์กรต่าง ๆ เข้าสู่เครือข่าย
ความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น กล่าวอีกนัยหนึ่งองค์กรนั้นได้ประโยชน์อะไรจากการเข้ามาเป็นสมาชิก
ในเครือข่าย งานศึกษาที่มีอยู่พบว่าประโยชน์จากการที่องค์กรหนึ่งเข้าสู่เครือข่ายมีดังนี้
งานศึกษากลุ่มแรกให้น�้าหนักกับประสิทธิภาพในการท�างานที่เพิ่มขึ้น งานศึกษา
ในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่าความร่วมมือระหว่างองค์กรในลักษณะเครือข่ายช่วยอ�านวยความสะดวก
ในการเคลื่อนย้ายของทรัพยากรระหว่างองค์กร (Gulati et al., 2011) เสมือนหนึ่งการระดม
ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้ตั้งไว้ เนื่องจากแต่ละองค์กรต่างก็มีทรัพยากรหรือ
ความเชี่ยวชาญของตนเอง การเข้าสู่เครือข่ายจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ตน