Page 43 - kpiebook67039
P. 43

42     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 นอกจากตัวแปรต่าง ๆ ในการฝึกอบรม ยังพบว่าปัจจัยส�าคัญอย่างจากถ่ายโอน

                         องค์ความรู้นั้นเองก็มีตัวแปรหลักอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ แรงจูงใจในการถ่ายโอน ซึ่งแรงจูงใจนี้
                         ส่งผลต่อตัวแปรที่ 2 นั่นคือ พฤติกรรมของการถ่ายโอน


                        3. หลังปี 2000 เป็นต้นมา


                                 ช่วงยุคหลังมีความคล้ายคลึงกับในช่วงปี 1990s โดยพบว่ามีงานหลายงานที่ยังให้

                         ความส�าคัญกับรูปแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและตัวแปร และการศึกษาเชิงประจักษ์
                         อาทิ งานของ Colquit et al. (2000) ที่อธิบายถึงแรงจูงใจในการอบรมผ่านรูปแบบของล�าดับ
                         ดังต่อไปนี้ 1. ลักษณะบุคลิกภาพ และตัวแปรสถานการณ์ 2. ความรู้สึกมีประสิทธิภาพของปัจเจก

                         ก่อนการเข้าฝึกอบรม ความเชื่อของปัจเจกต่อคุณค่าของการอบรม และตัวแปรทางด้านองค์กร

                         ที่ปัจเจกอยู่ (โอกาสในการเติบโต เปลี่ยนแปลง หรือการมีส่วนร่วม) 3. แรงจูงใจในการเรียนรู้
                         4. ผลลัพธ์ของการอบรม และ 5. การถ่ายโอนการฝึกอบรม


                                 นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะจัดท�าเครื่องมือเพื่อประเมินการถ่ายโอนผ่านสิ่งที่เรียก
                         ว่า LTSI (Learning transfer system Inventory) ซึ่งประกอบไป 16 ปัจจัยที่ถูกแบ่งออกไปเป็น

                         4 ประเภท ได้แก่ บุคลิกของผู้เข้าอบรม แรงจูงใจ สภาพแวดล้อมการท�างาน และความสามารถ


                                 จากการศึกษาในแต่ละช่วง จะเห็นพลวัตของการต่อยอดกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ
                         การถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม ซึ่งสามารถที่จะพิจารณากรอบแนวคิดที่

                         เกี่ยวข้องได้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่


                                 1.  ความพยายามในการนิยามว่าการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม
                                     คืออะไรและประกอบไปด้วยอะไร


                                 2.  ความพยายามจ�าลองรูปแบบของการถ่ายโอนและประยุกต์ใช้ความรู้จากการฝึกอบรม


                                 3.  ความพยายามหาค�าตอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปแบบนั้นส่งผลต่ออะไร

                                     อย่างไร และน�าไปสู่การถ่ายโอนทางความรู้และฝึกอบรมได้หรือไม่





                                 สรุปสาระส�าคัญและนัยต่องานวิจัยนี้


                                 นอกจากการศึกษาหลักการ รูปแบบ และกระบวนวิธีในการจัดกระบวนการแล้ว สิ่งที่เป็น
                         ค�าถามส�าคัญคือเมื่อมีการจัดกระบวนการเกมที่ดีแล้ว จะท�าอย่างไรให้การถ่ายทอดและประยุกต์

                         ใช้ความรู้จากการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมนั้นได้รับทักษะของความเป็นพลเมือง
                         และสามารถพัฒนาต่อไปด้วยความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าจบการฝึกอบรมไปแล้ว กล่าวคือ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48