Page 35 - kpiebook67039
P. 35

34     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 การใช้บอร์ดเกมเพื่อวิพากษ์และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม


                                 บอร์ดเกมมิได้เป็นสื่อที่เป็นกลางปราศจากความเชื่อหรือคุณค่าบางประการ กล่าวคือ

                         การออกแบบบอร์ดเกม และเนื้อหาสาระในเกมล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยเชิงวัฒนธรรม
                         (Schut, 2007) ในแง่นี้การใช้บอร์ดเกมเพื่อวิพากษ์ และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมจึงมีมิติ

                         เชิงปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินเชิงคุณค่าและความชอบธรรมของแนวความคิดหรือชุดอุดมการณ์
                         ในท�านองเดียวกัน Klimmt (2009) มองว่าการใช้เกมคิดไตร่ตรองเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง

                         ในสังคมมาจากความสามารถของเกมในการเปลี่ยนแปลงเรื่องเล่าอันประกอบไปด้วยโครงสร้างของ
                         เรื่องเล่า (Narrative structure) และสารที่สร้างความเปลี่ยนแปลง (Change message) ในแง่นี้

                         กลไกของเกมสามารถถูกออกแบบให้ช่วยถอดหรือรื้อสร้างความเชื่อเดิมได้ ในทางปฏิบัติการสร้าง
                         ความเปลี่ยนแปลงผ่านบอร์ดเกมสามารถเกิดขึ้นผ่านกลไกการวิพากษ์เรื่องเล่ากระแสหลักในสังคม

                         ยกตัวอย่างเช่น บอร์ดเกม ‘Civil War’ ได้รับการออกแบบมาเพื่อน�าเสนอและสื่อสารเรื่องเล่า
                         ที่วิพากษ์อุดมการณ์กระแสหลัก นอกจากนี้การน�าเกมไปใช้ยังช่วยให้ผู้เล่นสัมผัสกับประสบการณ์

                         ที่ยังด�าเนินอยู่ (Lived experience) ของสังคม (McCabe, 2018) กล่าวได้ว่าการเล่นบอร์ดเกม
                         ชี้ชวนให้ตั้งค�าถามกับความชอบธรรมของเรื่องเล่ากระแสหลักต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

                         อีกเกมที่คล้ายคลึงกัน คือเกมที่มีชื่อว่า ‘Land and Freedom : The Spanish Revolution
                         and Civil War’ ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นได้สัมผัสกับประเด็นเรื่องพันธมิตรทางการเมือง และวิพากษ์

                         และไตร่ตรองอุดมคติทางการเมืองและเป้าหมายของการปฏิวัติ อีกเกมหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                         ขับเคลื่อนสังคมให้เปิดพื้นที่ และเกิดความเข้าใจในความหลากหลายทางเพศ คือเกม ‘Stonewall

                         Uprising’ โดยเกมดังกล่าวบรรจุกลไกที่มุ่งสื่อสารเรื่องความเท่าเทียมเอาไว้ (Boardgamegeek, n.d.)


                                 บอร์ดเกมที่ถูกออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนในเรื่องพลเมืองเข้มแข็งก็ปรากฏอยู่ไม่น้อย
                         ตัวอย่างเช่น เกมเมืองจ�าลองประชาธิปไตยที่เป็นกรณีศึกษาของงานวิจัยนี้ ในต่างประเทศ พบว่า

                         มีการใช้เกมคิดไตร่ตรองในการส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง โดยอาศัยกลไกต่าง ๆ
                         ของเกมให้ผู้เล่นได้ถกแถลงอภิปราย ต่อรอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หนึ่งในบรรดาเกม

                         ที่น่าสนใจ คือเกม ‘Energy Safari’ แม้ว่าเนื้อหาสาระของเกมนี้จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของ
                         ระบบพลังงานสู่ความยั่งยืนในประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่กระบวนการใช้เกมได้เพิ่มมิติการมีส่วนร่วม

                         ของพลเมืองในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ข้อค้นพบที่ส�าคัญจากการน�าเกมดังกล่าวไปใช้
                         คือผู้เล่นสามารถจัดวางองค์ความรู้ที่ได้จากเกมโดยเชื่อมกับบริบททางสังคม และประสบการณ์

                         ของตนเอง (Ampatzidou, 2019) ตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน คือการน�าเกมที่เกี่ยวข้องกับแรงงานเด็ก
                         ไปใช้ เกมนี้คือ ‘Global  Conflicts: Sweatshops’ เมื่อเกมจบลงผู้เล่นได้ทั้งองค์ความรู้และ

                         ทักษะเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองจากกระบวนการเล่นเกมที่มุ่งสร้างบรรยากาศให้เกิดการมี
                         ปฏิสัมพันธ์ ในขณะเดียวกันเรื่องเล่าของเกมที่เกี่ยวข้องกับแรงงานเด็กก็กระตุ้นให้ผู้เล่นมองเห็น

                         ปัญหา และให้เหตุผลทางศีลธรรม (Ethical reasoning) (Raphael et al., 2012) จากการอภิปราย
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40