Page 30 - kpiebook67039
P. 30

29








                  2.2 เกมกับการสร้างความเป็ นพลเมือง



                                      การทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้จะอภิปรายประเด็นเรื่องเกมกับความเป็นพลเมือง

                             หากพิจารณาการจัดการเรียนการสอนด้านหน้าที่พลเมืองในรอบทศวรรษที่ผ่านมาทั้งในบริบท
                             นานาชาติและประเทศไทย จะพบว่ามีการน�าสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้ไม่ว่าจะเป็น

                             วิดีโอเกมหรือบอร์ดเกม แสดงให้เห็นว่าผู้สอนให้ความสนใจในการใช้เกมพอสมควร รูปแบบเกม
                             ที่นิยมใช้มักจะเป็นการจ�าลองสถานการณ์โดยให้ผู้เล่นได้สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องพลเมือง

                             เช่น การเลือกตั้ง ประชาธิปไตยปรึกษาหารือ หรือการมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงในชุมชน
                             เท่ากับว่าเป็นการเชื่อมประสบการณ์ส่วนบุคคลเข้ากับโครงสร้างทางสังคมที่ใหญ่กว่า ตลอดจน

                             เป็นการกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ในเรื่องสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนอกเหนือไปจาก
                             สิ่งที่ปรากฏในกลไกหรือเนื้อเรื่องของเกม ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่าทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ

                             ได้ออกมาให้ความเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนด้านสังคมศึกษา และหน้าที่พลเมืองควรเปิด
                             พื้นที่ให้กับสื่อใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นมัลติมีเดียหรือเกม (Bennett & Wells, 2009) นอกจากนี้เกม

                             ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก็นิยมถูกน�ามาใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา
                             ที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับเรื่องหน้าที่พลเมือง กล่าวคือ เกมเหล่านี้จะช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

                             ในสังคมให้ผู้เล่นได้เข้าใจพัฒนาการของสังคมการเมืองควบคู่ไปกับพลวัตความเป็นพลเมืองของผู้คน


                                      McMichael (2007) ให้ทรรศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเกมในชั้นเรียน
                             ประวัติศาสตร์ ประการแรก เกมช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับเนื้อหาทางประวัติศาสตร์โดยไม่ได้

                             ท�าให้เกมกลายเป็นเพียงเครื่องมือสันทนาการอย่างเดียว ประการที่สอง เกมช่วยให้ผู้เรียน
                             ได้มองประวัติศาสตร์จากมุมมองที่หลากหลาย ประการที่สาม เกมช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่า

                             ประวัติศาสตร์สามารถถูกน�ามาเป็นวัตถุทางการค้าได้ ดังเช่น เกมประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ผลิต
                             ออกมาเพื่อจ�าหน่าย สิ่งที่เป็นบทเรียนส�าคัญคือ เกมสามารถให้ทั้งข้อมูล ความสนุกสนาน และ

                             การคิดวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการออกแบบเกมเพื่อการค้าจะต้อง
                             ตอบโจทย์ผู้เล่นในตลาด ซึ่งหมายความว่าอาจมีการตัดหรือลดทอนเนื้อหาทางประวัติศาสตร์

                             บางประการออกไป เช่นเดียวกัน Schut (2007) เตือนให้พิจารณาอคติหรือคุณค่าบางประการ
                             ที่แฝงอยู่ในเกมประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นกลไกเกมที่เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมย่อม

                             หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะถูกอาบเคลื่อบไปด้วยชุดคุณค่าบางประการ Raphael et al. (2010)
                             เสนอการออกแบบเกมที่สร้างสมดุลระหว่างชุดคุณค่าต่าง ๆ โดยย�้าว่าการออกแบบและเนื้อหา

                             ของเกมต้องไม่ใช่การยัดเยียดอุดมการณ์หรือความเชื่อ (Indoctrination) แต่จะต้องวิพากษ์
                             ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของชุดคุณค่าหรือชุดความเชื่อทางการเมืองที่แวดล้อมประเด็นทางสังคม

                             ที่เกมมุ่งอภิปราย
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35