Page 28 - kpiebook67039
P. 28
27
ตนเองได้รับการยอมรับภายในสังคมและยอมรับความหลากหลายในสังคม ก่อให้เกิดจิตส�านึกของ
ความรับผิดชอบ รู้สิทธิเสรีภาพ หน้าที่ และความรับผิดชอบ น�าไปสู่ประโยชน์ของส่วนร่วมและ
การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาในสังคม (สัมพันธ์, ฐิติมาและพัณนิดา, 2564)
ฉะนั้นแล้ว การส่งเสริมจิตส�านึกความเป็นพลเมืองจึงมีความส�าคัญเช่นเดียวกัน
ในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมประชาธิปไตย การสร้างหรือส่งเสริมจิตส�านึก
ความเป็นพลเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยปราศจากการกระตุ้น
หรือกระบวนประกอบการสร้าง สัมพันธ์ ฐิติมาและพัณนิดา (2564) อธิบายกระบวนการสร้าง
จิตส�านึกไว้ว่า ‘ต้องมีการเรียนรู้ มีการสั่งสมประสบการณ์ของการเรียนรู้ การสังเคราะห์ วิเคราะห์
จากสถานการณ์ ปรากฎการณ์ หรือประสบการณ์ที่รับรู้มา แล้วมีการประเมินว่าจากพฤติกรรม
ต่าง ๆ เหล่านั้น และท้ายที่สุดเห็นว่า เป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เกิดเป็นนิสัย
เกิดเป็นความสมัครใจ จึงยอมรับและน�ามาประพฤติปฏิบัติเป็นประจ�า’
ในประเด็นของการสร้างจิตส�านึกความเป็นพลเมือง หากไม่มีกระบวนการสร้างและ
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นไปในรูปแบบของสังคมประชาธิปไตย ก็อาจจะเกิดความเสี่ยงที่ว่าประชาชน
ส่วนมากนั้นมีบทบาทเพียงประชาชนหรือราษฎร ไม่กระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงในสังคม อนึ่งพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือผู้ที่ค�านึงถึงและยึดมั่น
หลักการประชาธิปไตยและสมาทานคุณค่าความเป็นพลเมืองที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นโดยยอมรับ
เสียงข้างมาก ค�าว่าประชาธิปไตยมีรากศัพท์มาจาก ‘demos’ หรือประชาชน และ ‘kratos’
หรือการปกครอง ฉะนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือรูปแบบการปกครองที่ประชาชน
เป็นผู้มอบอ�านาจและความชอบธรรมในการบริหารหรือปกครองประเทศให้แก่ผู้น�า โดยสังคมนั้น
ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตลอดจนหลักการการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็เป็นดังเสาหลักของประชาธิปไตยที่ขับเคลื่อน
ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอ�านาจอย่างแท้จริง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบส�าคัญของสังคม
ที่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ หรือแม้แต่การริเริ่ม
กระท�าอะไรบางอย่างในสังคม หากขาดซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไป ก็ไม่สามารถพูดได้
อย่างเต็มที่ว่านั้น คือการปกครองหรือบริหารแบบประชาธิปไตย ฉะนั้นแล้ว การมีส่วนร่วมทาง
การเมืองจึงมีความส�าคัญอย่างมาก หากกล่าวโดยสังเขป สามารถนิยามการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ได้ว่าเป็นการกระท�าร่วมกันของประชาชนโดยสมัครใจเพื่อส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ต่อระบบการเมืองหรือให้เกิดการบรรลุเป้าประสงค์ทางการเมือง (van Deth, 2014)