Page 23 - kpiebook67039
P. 23

22     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         ลูกเต๋าปัญหาเพื่อวางเบี้ยปัญหาลงบนบอร์ด และทอยลูกเต๋าอีกลูกหนึ่งซึ่งจะก�าหนดรายได้ให้กับ

                         ผู้เล่น ผู้เล่นจะรับรายได้ก็ต่อเมื่อมีโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในเกมใช้เป็นเบี้ยถนน และไม่มีปัญหา
                         คั่งค้างอยู่ในภาคส่วนของตน ในจุดนี้ผู้เล่นจะต้องเจรจาต่อรองกับรัฐบาลเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา

                         เกมจะด�าเนินไปตามนี้จนครบทุกภาคส่วน การเล่นจนครบรอบแรกเรียกว่าครึ่งเทอม ผู้เล่น
                         ที่เป็นรัฐบาลจะสามารถเก็บภาษีได้หากการ์ดรายได้ของผู้เล่นแต่ละทีมถูกเติมเต็มทุกช่อง

                         จากนั้นเกมก็จะด�าเนินต่อไปอีกรอบจนครบทุกภาคส่วน เรียกการครบรอบครั้งนี้ว่า “หมดวาระ”
                         หมายความว่ารัฐบาลได้อยู่มาครบเทอมแล้ว มาถึงตรงนี้รัฐบาลจะแถลงรายได้ที่มีเหลืออยู่

                         หรืออาจติดลบก็เป็นได้ ผู้เล่นคนอื่น ๆ จะประเมินการท�างานของรัฐบาล แล้วจะเข้าสู่กระบวนการ
                         เลือกตั้งใหม่ และเกมก็จะด�าเนินตามกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้น


                                 จากวิธีการเล่นที่กล่าวโดยสังเขปข้างต้น จะพบว่าเกม Sim Democracy เน้น 4 มิติหลัก

                         ได้แก่ ประการแรก กระบวนการส�าคัญในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้ง และ
                         การก�าหนดนโยบายแบบปรึกษาหารือ ประการที่สอง การที่ประชาชนมีส่วนร่วม และรับผิดชอบ

                         ในบทบาทของตนภายใต้สังคมประชาธิปไตย ประการที่สาม กระบวนการท�างานของรัฐบาล
                         ที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวางแผน จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ การจัดบริการสาธารณะ

                         การบริหารจัดการทางการคลัง และภาษี ประการที่สี่ การตรวจสอบการท�างานของรัฐบาลที่เน้น
                         ความโปร่งใส ในภาพรวมกลไกของเกม Sim Democracy จะช่วยให้ผู้เล่นเข้าใจอย่างลึกซึ้งและมี

                         ประสบการณ์ตรงกับการท�างานของระบอบประชาธิปไตย (วศิน และคณะ, 2564)







             1.4 ค�าถามวิจัย



                                 การวิจัยครั้งนี้มุ่งตอบค�าถามหลัก 2 ข้อดังนี้


                                 1. พรรคการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในมาเลเซีย
                         ฟิลิปปินส์ และไทยใช้กลยุทธ์การน�าเกม Sim Democracy ไปสู่การปฏิบัติอย่างไร


                                 2. ปัจจัยเชิงบริบท (Contextual factors) ส่งผลต่อการพัฒนา และการจัด
                         กระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองอย่างไร
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28