Page 20 - kpiebook67039
P. 20
19
การพัฒนาเมือง (Ashtari & de Lange, 2019) อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการศึกษาการใช้เกมคิดไตร่ตรอง
(Serious game) เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโดยใช้พื้นที่ศึกษาของประเทศก�าลังพัฒนา
เช่น Haki2 ในเคนยาและ Your Excellency ในไนจีเรีย (Fisher, 2020) แต่งานศึกษาเปรียบเทียบ
การใช้เกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองโดยใช้พื้นที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยังไม่ปรากฏ
ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทยต่างก็มีการจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง อย่างไรก็ตามงานศึกษาที่มีอยู่ยังไม่ได้ศึกษากลยุทธ์ และประสบการณ์
ของทั้งสามประเทศในประเด็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ งานศึกษานี้จึงต้องการปิดช่องว่างในวรรณกรรม
ในส่วนนี้ โดยมุ่งท�าความเข้าใจกับกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยผ่านมุมมองเชิงเปรียบเทียบ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบ
อย่างเป็นระบบ เกมที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาร่วมกันคือเกมจ�าลองเมืองประชาธิปไตย (Sim Democracy)
ซึ่งเป็นเกมที่ได้รับการน�าเสนอในเทศกาล Democracy Game Festival 2020 ซึ่งส�านักนวัตกรรม
เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้าได้ร่วมจัด นอกจากนี้การถอดบทเรียนจากทั้งสามประเทศ
ยังจะช่วยให้เห็นจุดเด่น และข้อจ�ากัดในการออกแบบกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
เพื่อน�าไปสู่การต่อยอด และประยุกต์ใช้เกมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็นพลเมืองในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยตัวแสดงสามกลุ่ม ได้แก่ พรรคการเมือง
องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา
2. เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
1.3 ภูมิหลังและวิธีการเล่นเกม Sim Democracy
ภูมิหลัง
เกม Sim Democracy เป็นบอร์ดเกมที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่างส�านักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง บริษัท Club Creative และมูลนิธิฟรีดริช เนามันประเทศไทย