Page 18 - kpiebook67039
P. 18
17
บทที่ 1
บทน�า
1.1 ความส�าคัญและที่มาของปั ญหา
การใช้เกมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองเป็นหนึ่งในนวัตกรรมการขับเคลื่อนสังคม
ที่ได้รับความนิยมในช่วงราว ๆ หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เกมถูกใช้ทั้งในฐานะสื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน
โดยครูผู้สอน อีกทั้งยังได้รับการต่อยอดไปใช้ในการฝึกอบรมโดยองค์กรภาคประชาสังคม
ในบริบทของการส่งเสริมนวัตกรรมการขับเคลื่อนสังคม การพัฒนาเกมจ�านวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์
เพื่อแทรกแซงพฤติกรรม กล่าวคือ เพื่อให้ผู้เล่นปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมให้สอดคล้อง
กับเป้าหมายของเกม เช่น เกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองมุ่งท�าให้ผู้เล่นมีทัศนคติที่ดีต่อ
การมีส่วนร่วมทางการเมือง และกลายมาเป็นพลเมืองเข้มแข็ง ทั้งนี้การแทรกแซงในจุดนี้เป็นไป
เพื่อแก้ปัญหาความเบื่อหน่ายทางการเมือง ในแง่นี้เกมจึงเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม
หากพิจารณาจากมุมที่กว้างขึ้น พัฒนาการของเสรีนิยมประชาธิปไตยในระดับโลก
ถูกมองว่าก�าลังเผชิญกับสภาวะถดถอย ปรากฏการณ์จ�านวนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นสภาวะดังกล่าว ได้แก่
การเพิ่มอ�านาจของฝ่ายบริหารจนกระทั่งครอบง�าฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ การคุกคามสื่อสาร
มวลชน และการควบคุมการท�างานของภาคประชาสังคม เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ วงวิชาการ
จึงได้ตั้งโจทย์การศึกษาว่าด้วยการเพิ่มคุณภาพเสรีนิยมประชาธิปไตยผ่านการเสริมสร้างทักษะ
ความเป็นพลเมือง (Galston, 2004) น�ามาสู่การออกแบบเครื่องมือ และกระบวนการหลายรูปแบบ
เพื่อให้ประชาชนเข้าใจแก่นสาร และคุณค่าของระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย หนึ่งในเครื่องมือ
ที่ได้รับความนิยมคือการใช้เกม และกระบวนการเล่นเกมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ
ประชาธิปไตย