Page 22 - kpiebook67039
P. 22

21







                                      เมื่อการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้เริ่มประสบความส�าเร็จในประเทศไทย

                             โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจ�านวนผู้เล่นเกม และการที่สถาบันการศึกษาน�าเกมมาใช้เป็นส่วนหนึ่ง
                             ของการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ต่อมาเกม Sim Democracy ก็ได้รับการแปล

                             เป็นภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) และภาษาเมียนมา และถูกน�า
                             ไปใช้ในต่างประเทศ อาทิ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศ

                             เมียนมา ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น อนึ่งในปี ค.ศ.2012 Council for a Community of
                             Democracies (CCD) ได้เลือกเกม Sim Democracy เป็นกรณีศึกษาที่ดี (Best Practice) ส�าหรับ

                             การให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยที่ประสบความส�าเร็จ และในปี พ.ศ.2557 เกม Sim Democracy
                             ได้รับการคัดเลือกจากสภายุโรป (Council of Europe) ให้เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการเรียนรู้

                             เพื่อประชาธิปไตยอันเป็นตัวอย่างที่ดีในงาน World Forum for Democracy ที่จัดขึ้นในเมือง
                             สตราซบูร์ (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส





                          วิธีการเล่นเกม



                                      เกมเมืองจ�าลองประชาธิปไตย (Sim Democracy) เป็นบอร์ดเกมที่มุ่งจ�าลองสถานการณ์

                             และการบริหารจัดการประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เหมาะกับผู้เล่นจ�านวน 4-8 คน และไม่ควร
                             เกิน 16 คน ใช้เวลาเล่นโดยประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในแง่กลไกของเกม ในเบื้องต้น เกมได้แบ่งพื้นที่
                             ออกเป็น 4 ส่วน โดยให้ถือว่าทั้ง 4 ภาคส่วนนี้เป็นภาคส่วนที่ส�าคัญอย่างยิ่งในการด�ารงอยู่

                             ของประเทศหนึ่ง ๆ ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการศึกษา

                             ทั้งนี้ผู้น�าการเล่นเกมจะเข้ามาอ�านวยความสะดวกตั้งแต่ต้นในการอธิบายวิธีการเล่น และอุปกรณ์
                             ในการเล่นเกม ต่อมาผู้เล่นจะต้องตกลงกันว่าใครจะเข้ามาดูแลภาคส่วนใด เมื่อตกลงกันได้แล้ว
                             ผู้น�าการเล่นเกมก็จะให้ผู้เล่นในแต่ละภาคส่วนทอยลูกเต๋าเพื่อก�าหนดปัญหาที่ประเทศจะต้อง

                             เผชิญ โดยลักษณะปัญหาก็จะสอดคล้องกับทั้ง 4 ภาคส่วน เช่น ภาคส่วนความมั่นคงปลอดภัย

                             ก็จะเผชิญปัญหาเรื่องการขโมย และเมื่อก�าหนดปัญหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในช่วงนี้ผู้น�าการเล่นเกม
                             อาจจะอธิบายเพิ่มว่าหลังจากนี้จะมีการก�าหนดทรัพยากรที่แต่ละภาคส่วนจะมีไว้เพื่อแก้ปัญหา
                             โดยทรัพยากรในที่นี้ถูกแสดงออกมาในรูปแบบบุคลากรส�าคัญของแต่ละภาคส่วน หากใช้ตัวอย่างเดิม

                             ทรัพยากรของภาคส่วนความมั่นคงปลอดภัยคือต�ารวจ


                                      ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการเชิญชวนให้ผู้เล่นในแต่ละภาคส่วนสวมบทบาทเป็นพรรคการเมือง
                             ก�าหนดนโยบายพรรคโดยอ้างอิงจากปัญหา และงบประมาณที่ได้รับ โดยเกมก�าหนดไว้จ�านวน

                             20 ล้าน และลงสมัครรับเลือกตั้ง จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง โดยผู้เล่นสามารถเลือกได้
                             2 เบอร์ รวมถึงเลือกตนเองได้ด้วย เมื่อประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ชนะจะได้จัดตั้งรัฐบาล และ

                             ได้รับงบประมาณจ�านวน 20 ล้านไปบริหารจัดการ ในการเล่นเกมจากนี้ ผู้เล่นแต่ละคนจะทอย
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27