Page 21 - kpiebook67039
P. 21

20     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการพัฒนาบอร์ดเกมนี้ คือการใช้เป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อม

                         ให้กับเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First-time voter) การพัฒนาเกม
                         Sim Democracy เริ่มต้นในปี ค.ศ.2010 และถูกน�าไปใช้จริงในปี ค.ศ.2011 นับตั้งแต่วันที่

                                                                                                       1
                         12 กันยายน พ.ศ.2011 จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2020 มีผู้เล่นจ�านวนทั้งสิ้น 16,454 คน
                         แม้ว่าเดิมทีเกม Sim Democracy จะมุ่งน�าไปใช้กับเด็ก และเยาวชนในสถาบันการศึกษา

                         แต่ในเวลาต่อมา เกม Sim Democracy ถูกน�ามาใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นทั้งในแง่ช่วงวัย
                         และความหลากหลายขององค์กรที่น�าเกมไปใช้ กล่าวคือ เกมถูกน�าไปใช้กับผู้เล่นในทุกช่วงอายุ

                         ตั้งแต่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา กลุ่มวัยกลางคนไปจนถึง
                         กลุ่มผู้สูงวัย ส่วนองค์กรที่น�าเกมไปใช้ นอกจากสถาบันการศึกษาทั้งในระบบปกติ และการศึกษา

                         นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ยังมีการเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรในภาคประชาสังคม
                         และภาคธุรกิจ เช่น ร้านบอร์ดเกมอีกด้วย กล่าวได้ว่าในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา การน�าเกม Sim

                         Democracy ไปใช้ในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างมาก


                                 เมื่อเกม Sim Democracy ถูกน�าไปใช้ในวงที่กว้างขึ้น สิ่งที่ตามมา คือ การจัดฝึก
                         อบรมผู้น�าการเล่นเกม (Training of trainers) เนื่องจากเกม Sim Democracy จะใช้ได้ผลดี

                         เมื่อมีผู้น�าการเล่นเกมช่วยด�าเนินกระบวนการ (Facilitate) ดังนั้นมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย
                         จึงริเริ่มการจัดฝึกอบรมผู้น�าการเล่นเกมโดยสรรหา (Recruit) ผู้น�าการเล่นเกมจากภาคีเครือข่าย

                         ที่มีอยู่ของมูลนิธิฯ และนักเรียน นิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป้าหมายประการส�าคัญของ
                         การฝึกอบรมนี้ส่งผลให้มีจ�านวนผู้ใช้เกม Sim Democracy มากขึ้น และการขยายผลจึงเกิดขึ้น

                         ต่อเนื่องโดยธรรมชาติ (Organic) ในความหมายที่ว่าผู้น�าการเล่นเกมที่ผ่านการอบรมแล้ว ต่างก็
                         น�าเกมไปใช้ต่อตามภารกิจองค์กรหรือกิจกรรมของตน ในเวลาเดียวกัน มูลนิธิฯ ได้จัดท�าวีดิทัศน์

                         แนะน�าวิธีการเล่นเกม และผลิตคู่มือแจกจ่ายผู้น�าเกมไปใช้ด้วย ควรกล่าวไว้ด้วยว่าตลอดเวลา
                         ที่ผ่านมา มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนบอร์ดเกมกับหน่วยงานต่าง ๆ

                         ที่ติดต่อขอน�าเกมไปใช้

                                 ทั้งนี้เกม Sim Democracy ได้ถูกแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัล และเข้าถึงได้ผ่าน Tabletopia
                                                                                                       2
                         เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ออนไลน์ที่เปลี่ยนไปของผู้คน ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง

                         ที่ควรกล่าวถึง คือ การที่เกม Sim Democracy ถูกน�าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียน
                         การสอนวิชาสังคมศึกษา และหน้าที่พลเมือง กล่าวคือ มีการใช้เกมเป็นเครื่องมือการเรียนการสอน
                         อย่างเป็นทางการ มีการใช้จริงกับผู้เรียน และมีการมอบหมายงานต่อยอดจากการเล่นเกม





             1
                 โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องสถิติการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในวศิน ปั้นทองและคณะ. (2564). เกมกับการสร้างความเป็นพลเมือง.
             ภาพพิมพ์ จ�ากัด.
             2
                สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของ Tabletopia ได้ที่ https://tabletopia.com/games/sim-democracy.
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26