Page 19 - kpiebook67039
P. 19
18 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเกมเพียงอย่างเดียวไม่อาจสร้างวงจรความเปลี่ยนแปลงที่มี
ประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงจ�าเป็นที่จะต้องออกแบบกระบวนการใช้เกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
ด้วย การออกแบบกระบวนการดังกล่าวต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งในทางทฤษฎี และในทางปฏิบัติ
ทฤษฎีที่ส�าคัญ คือ การถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ในทางปฏิบัติก็ต้องอาศัยความเข้าใจ
อย่างลึกซึ้งในกลยุทธ์การจัดกระบวนการ การเอาความรู้ทั้งสองประเภทประกอบกันจะช่วยให้
เกิดวงจรความเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้งานศึกษาทางวิชาการที่มีอยู่มุ่งอธิบาย
ผลของการจัดกระบวนการเกมต่อการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง (พิมพ์รภัช & วศิน 2021;
วศินและคณะ 2021; Vogel 1973; Young 2021; Fisher, 2020) หรือศึกษาการใช้เกมรูปแบบ
ต่าง ๆ ทั้งออนไลน์ และบอร์ดเกมในฐานะสื่อการสอนหรือเครื่องมือในการให้ความรู้ (Stoddard
et al., 2016) ประเด็นที่ยังเป็นช่องว่างในวรรณกรรม คือ เรื่องกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดกระบวนการ
เกม (Facilitation strategies) เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง กล่าวคือ วรรณกรรมที่มีอยู่
ยังไม่ได้ให้ค�าอธิบายที่ชัดเจนเรื่องแนวทางการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดกระบวนการ
เกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง และยังไม่ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องผลกระทบของปัจจัย
เชิงบริบท เช่น วัฒนธรรมการอภิปรายอย่างเปิดกว้าง (Debate culture) การเข้าถึงเครื่องมือ
การจัดกระบวนการใหม่ ๆ (Accessibility to new facilitation tools) และความเข้าใจเกม
ในสังคม (Societal perception on games) ต่อการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะ
ความเป็นพลเมือง ทั้งนี้ วัฒนธรรมการอภิปรายอย่างเปิดกว้าง หมายถึง พฤติกรรมที่เป็นแบบแผน
และชุดคุณค่าร่วมกัน (Common value) ที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการพูด และแสดงออกของผู้คน
ในสังคม กล่าวคือ ในแต่ละสังคม พื้นที่ และเพดานของการอภิปรายประเด็นการเมืองในพื้นที่
สาธารณะแตกต่างกันไป ดังนั้น การน�าเกมที่ต้องอาศัยการพูดคุย ถกเถียง และแสดงความคิดเห็น
ที่แตกต่างไปใช้อาจสะท้อนวัฒนธรรมการอภิปรายอย่างเปิดกว้างของสังคมแต่ละแห่ง การเข้าถึง
เครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ เป็นอีกมิติที่ส�าคัญในการท�าความเข้าใจกับแนวทางการเลือกใช้
กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองเพราะผู้น�าเกม
ไปใช้อาจน�าองค์ความรู้จากการฝึกอบรม และการเรียนรู้เครื่องมือการจัดกระบวนการใหม่ ๆ
มาปรับใช้กับกิจกรรมเกม ความเข้าใจเกมในสังคม หมายถึง การรับรู้โดยทั่วไปของผู้คนในสังคม
ในเรื่องคุณค่า ประโยชน์ และความหมายของเกม เช่น ในบางสังคม เกมอาจถูกมองว่าเป็นเครื่องมือ
สร้างความบันเทิงเป็นหลัก เป็นต้น
ในแง่ของการใช้เกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในประเทศต่าง ๆ จะพบว่า
งานศึกษาชิ้นส�าคัญมักจะมีพื้นที่การศึกษาเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ลงหลักตั้งมั่น
ในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา เช่น การศึกษาการใช้เกมขององค์กร
ภาคประชาสังคม iCivics ในสหรัฐอเมริกา หรือการศึกษาในระดับชาติว่าด้วยประสบการณ์
และผลของการเล่นเกมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน (Lenhart
et al., 2008) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการใช้เกมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผน