Page 26 - kpiebook67039
P. 26

25













                                                    บทที่ 2






                             การทบทวนวรรณกรรม




                                               ที่เกี่ยวข้อง












                  2.1 พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


                                     นิยามและกรอบแนวคิดของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


                                      การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนยังเผชิญหน้ากับความท้าทาย

                             ในประเด็นเรื่องของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากประชาชนส่วนใหญ่ อาทิ ประเด็นการก�าหนด

                             นโยบายสาธารณะ ฉะนั้นการสร้างความเข้มแข็งในภาคประชาชนจึงเป็นประเด็นที่มีความส�าคัญ
                             เป็นอย่างมาก โดยความเข้มแข็งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้น
                             ในสังคม


                                      ในปัจจุบัน ค�าว่าพลเมืองถูกใช้อย่างทับซ้อนกับค�าว่าราษฎร และประชาชนเกิดเป็น

                             ความสับสนในการให้ค�านิยาม แม้ว่าค�าทั้งสามจะมีความคล้ายคลึงและสามารถใช้แทนกันในบริบท

                             ที่แตกต่าง ทว่า ราษฎร หรือ subject ตามราชบัณฑิตยสภาหมายถึง ‘ผู้ที่เป็นคนของประเทศ
                             ถือสัญชาติเดียวกัน ภายใต้การปกครองเดียวกัน มีสิทธิตามกฎหมาย และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
                             บ้านเมืองเหมือนกันทุกคน’ (ส�านักงานราชบัณฑิตยสภา, 2557) โดยค�าศัพท์ถูกใช้มานับตั้งแต่

                             สมัยสังคมไทยโบราณ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยของ

                             รัชกาลที่ 5 ที่ได้ท�าการเลิกทาส ส่งผลให้ไพร่หรือทาสในสมัยก่อนนั้นมีสถานะเป็นราษฎรแทน

                                      ประชาชน หรือ people อ้างอิงจากราชบัณฑิตยสภา มีรากศัพท์จากค�าว่า ‘ประชา’

                             ซึ่งหมายถึง หมู่คน และ ‘ชน’ ซึ่งหมายถึง คน ฉะนั้นความหมายของประชาชนจึงสื่อถึง
                             ‘คนที่เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ถือว่าเป็นเจ้าของหรือสมาชิกของประเทศ’
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31