Page 31 - kpiebook67039
P. 31
30 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
ตัวอย่างเกมที่น่าพิจารณาในเรื่องประวัติศาสตร์คือ เกม Civilization III ซึ่งเป็นเกม
การสร้างจักรวรรดิโดยเริ่มตั้งแต่ 4 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล แล้วพัฒนาต่อมาจนถึงสมัยใหม่
โดยผู้เล่นจะต้องบริหารจัดการทรัพยากร เจรจาต่อรองทางการทูต พัฒนาเทคโนโลยี และตัดสินใจ
สร้างสงครามหรือสันติภาพกับอารยธรรมรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเจรจาแลกเปลี่ยน
วัตถุดิบที่ตนต้องการกับอารยธรรมอื่น ๆ (Harms, n.d.) ทักษะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความเป็น
พลเมืองปรากฏในเกมเช่นนี้แม้จะไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์หลักของเกม อาทิ การเจรจาต่อรอง
และการบริหารจัดการความขัดแย้ง
งานอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจการใช้เกมกับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองคือ การศึกษา
ในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน งานในกลุ่มนี้มักจะเริ่มต้นมาจากสมมติฐานที่ว่า
เยาวชนมีแนวโน้มที่จะไม่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเพียงพอ ควรกล่าวด้วยว่าสมมติฐาน
เช่นนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1990 จนถึงต้น 2000 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบัน
ที่เยาวชนในหลายประเทศหรือดินแดนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง เช่นที่
ปรากฏในประเทศไทยหรือฮ่องกง งานชิ้นส�าคัญในกลุ่มนี้คือ Bers & Chau (2006) ที่พัฒนาเกม
มาเพื่อจัดการกับปัญหาเยาวชนไม่สนใจการเมืองในเวลานั้น โดยพัฒนา Zora ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม
เสมือนจริงที่ช่วยให้ผู้เล่นได้สร้างอัตลักษณ์ของตนเองในฐานะพลเมือง (Civic identity) ผ่าน
การตัดสินใจในแง่มุมต่างของชีวิตทางสังคมการเมืองในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง เกมนี้ได้ออกแบบ
ให้มีช่องทางในการสร้างบทสนทนาในปัญหาสังคมที่ก�าลังเกิดขึ้นอยู่ และวิเคราะห์พิจารณาประเด็น
เพื่อหาทางออก กล่าวได้ว่างานชิ้นนี้แสดงให้เห็นความส�าคัญของเทคโนโลยี การเล่นเกม และ
การเสริมสร้างประสบการณ์พลเมือง
นอกจากนี้งานศึกษาเชิงส�ารวจของ Kahne, Middaugh & Evans (2009) แสดงให้เห็น
ว่าการเล่นวิดีโอเกมมีศักยภาพในการสร้างเสริมประสบการณ์ความเป็นพลเมืองให้กับผู้เล่นเกม
งานชิ้นนี้มีความส�าคัญยิ่งเนื่องจากเป็นการฉายภาพให้เห็นว่านักเล่นเกม (Gamer) ไม่ได้มีพฤติกรรม
ต่อต้านสังคม แต่ก็มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองเช่นเดียวกับผู้ที่เล่นเกมไม่บ่อยครั้ง
นอกจากนี้งานชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการเล่นเกมที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นคนอื่นเป็นช่องทางหนึ่ง
ในการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในบางกรณี ทั้งนี้แม้งานศึกษาที่กล่าวมาจะให้น�้าหนัก
กับศักยภาพของเกมในการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ความเป็นพลเมือง แต่กระนั้น
Dishon & Kafai (2022) ได้เน้นย�้าว่าการใช้เกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่จะส่งผลจริง
จะต้องมาพร้อมกับชุดเครื่องมืออื่น ๆ ที่เกื้อหนุนกับเกม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือต�ารา การแสดง
บทบาทสมมติ หรือกิจกรรมนอกเกมรูปแบบต่าง ๆ ที่ตอบวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ด้าน
ความเป็นพลเมือง และควรเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ร่วมออกแบบเกมเพื่อให้ผู้เล่นได้รู้สึกถูกเสริมพลัง
และเห็นประโยชน์ของเกม ในแง่นี้การบรรจุเกมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการสอนต้องด�าเนิน
ไปพร้อมกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านหน้าที่พลเมืองอื่น ๆ