Page 33 - kpiebook67039
P. 33
32 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
บอร์ดเกมได้รับการน�าไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา ตัวอย่างเช่น ในสาขาวิชาทางการ
แพทย์ มีการใช้บอร์ดเกมในฐานะสื่อการเรียนรู้ในเรื่องเภสัชวิทยาเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ
(Jones et al., 2015) ยังมีการใช้บอร์ดเกม ‘Robot City’ ในการเรียนรู้เรื่องแนวคิดเชิงค�านวณ
(Computational thinking) กับนักเรียนในชั้นเรียนวิชาสารสนเทศและเทคโนโลยีเกรด 7
ในโรงเรียนแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของไต้หวัน พบว่าความร่วมมือกับผู้เรียนคนอื่นในการเล่นเกม
ทั้งผ่านข้อเสนอสะท้อนกลับจากผู้ร่วมเล่นเกม (Peer feedback) และการมีปฏิสัมพันธ์
(Interaction) เป็นปัจจัยส�าคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งยังพบว่าบอร์ดเกม
ที่ให้ความบันเทิงในขณะที่มีเป้าหมายชัดเจนจะช่วยให้ผู้เรียนจับทิศทางการเรียนรู้ได้มั่นคงยิ่งขึ้น
(Kuo & Hsu, 2020) นอกจากนี้มีการใช้บอร์ดเกมในการสื่อสารประเด็นอันเป็นความท้าทาย
ร่วมสมัยเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้อย่างกว้างขวาง เช่น การใช้บอร์ดเกม ‘KEEP COOL’ เพื่อ
สื่อสาร และสร้างการเรียนรู้ในเรื่องความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผลจากการน�าไปใช้พบว่าเกมดังกล่าวช่วยให้ผู้เล่นเข้าใจในประเด็นที่ซับซ้อนในภาษาเดียวกัน
หรือมีความเข้าใจตรงกันมากขึ้น (Eisenack, 2012) จากที่กล่าวมานี้คุณประโยชน์ประการส�าคัญ
ของบอร์ดเกมคือ การเป็นเครื่องมือส�าหรับการให้การศึกษา (Instructional tool) รายวิชาทาง
สังคมศาสตร์มีการใช้บอร์ดเกมเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น บอร์ดเกม ‘Diplomacy’ ได้รับการน�ามา
ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้เรียนสวม
บทบาทเป็นผู้มีอ�านาจตัดสินใจบนเวทีระหว่างประเทศ ผลจากการน�าไปใช้พบว่าบอร์ดเกมนี้
มีประโยชน์ในเรื่องถ่ายทอดเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ และท�าให้ผู้เล่นเห็นภาพระบบการเมือง
ระหว่างประเทศชัดเจนยิ่งขึ้น (Arnold, 2015) ข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ การเรียนรู้
ผ่านบอร์ดเกมช่วยให้ผู้เล่นสามารถกักเก็บข้อมูล และจดจ�าองค์ความรู้ที่ได้รับได้ดียิ่งขึ้น (Lavender
et al., 2019) ทั้งนี้ควรกล่าวด้วยว่าลักษณะส่วนบุคคล (Personal traits) ของผู้เล่น เช่น บุคลิกภาพ
แบบเปิด/ปิด (Extrovert/introvert) หรือระดับความอดทนก็มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ผ่านเกม
เช่นเดียวกัน (Tsarava, Moeller and Ninaus, 2018)
การใช้บอร์ดเกมและเกมมิฟิเคชั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงทัศนคติ
และพฤติกรรม
บอร์ดเกมถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงทัศนคติ
และพฤติกรรม โดยทั่วไปกล่าวได้ว่าเกมจ�านวนมากถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
เชิงพฤติกรรมโดยเฉพาะ อาทิ การออกแบบเกมเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสุขภาพอนามัย
(Payne, Moxley & MacDonald, 2015) อนึ่งคุณลักษณะประการส�าคัญของบอร์ดเกมคือ
การส่งเสริมให้ผู้เล่นสื่อสารสนทนา (Communicate) และร่วมกัน (Collaborate) วางกลยุทธ์