Page 29 - kpiebook67039
P. 29
28 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
การมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับอันเป็น
ที่ประจักษ์หรือการกระท�าของกลุ่มคน ดังที่ได้กล่าวในข้างต้น และ 2. ระดับอันเป็นที่ซ่อนเร้น
หรือแอบแฝง (Latent) ในระดับดังกล่าวนี้ การมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ได้ถูกจ�ากัดแค่กิจกรรม
หรือการกระท�าของกลุ่มประชาชน แต่รวมไปถึง ความรู้คิด ความรู้สึก และจิตส�านึก โดยที่
ประชาชนอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับที่สองนี้จึงมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับจิตส�านึก
ความเป็นพลเมืองที่ได้กล่าวไป การที่ประชาชนรับรู้และเข้าใจประเด็นทางสังคมการเมือง
และเกิดเป็นความรู้สึกรับผิดชอบ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจนสามารถกล้าที่จะก้าวออกมา
เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (หรือเพียงแค่ส่งเสียงแสดงออกถึงความต้องการ
ของตนเอง) สามารถเรียกได้ว่าเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ (Active citizen) ซึ่งมีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่ง
ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมหนึ่ง
สรุปสาระส�าคัญและนัยต่องานวิจัยนี้
ดังที่ได้กล่าวในข้างต้นว่าการสร้างพลเมืองผ่านการปลูกฝังจิตส�านึกพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่อาศัยความพยายามในการเสริมแทรก
เข้าไปในชีวิตประจ�าวันของปัจเจกบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จนน�าไปสู่ทัศนคติ และพฤติกรรม
เพื่อส่วนรวม ที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาและความพยายามที่จะออกแบบการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
(Civic education) ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่ความพยายาม
ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ บอร์ดเกมดังในงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นต้น
จุดมุ่งหมายส�าคัญส�าหรับงานวิจัยในครั้งนี้ คือการศึกษาการส่งเสริมทักษะความเป็น
พลเมืองผ่านกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม ผลลัพธ์อันเป็นที่คาดหวังส�าหรับโครงการนี้ นอกจาก
การศึกษาถึงกลยุทธ์ในการจัดกระบวนการเกมแล้ว คือการเสริมสร้างทักษะความเป็นพลเมือง
ให้แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย ฉะนั้นแล้ว จึงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง
ในการเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่จะสามารถพัฒนา
กระบวนการเกมให้ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด