Page 27 - kpiebook67039
P. 27

26     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                         ซึ่งค�าว่าประชาชนมักจะใช้ในรูปแบบของพหูพจน์ หมายถึง กลุ่มคน หมู่คน หรือปัจเจกบุคคล

                         จ�านวนมากที่มารวมตัวกัน (ส�านักงานราชบัณฑิตยสภา, 2556)


                                 นัยหนึ่ง สามารถอธิบายความหมายทางตรงของทั้ง 2 ค�าได้ดังต่อไปนี้ ค�าว่าประชาชน
                         อธิบายภาพรวมใหญ่ของการแบ่งกลุ่มคนจ�านวนหนึ่งออกจากอีกกลุ่ม อาทิ ประชาชนคน

                         (ชื่อสัญชาติ) ในขณะที่ราษฎรนั้นนิยามละเอียด และลึกลงกว่าการแค่จ�าแนกกลุ่มคนจ�านวนหนึ่ง
                         โดยให้ความหมายครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีสัญชาติ ผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมาย และผู้ที่ต้องปฏิบัติตาม

                         กฎหมาย

                                 ในปัจจุบัน ทั้ง 2 ค�าถูกใช้ในลักษณะเดียวกัน แต่นอกเหนือจากความหมายทางตรงแล้ว

                         พบนัยที่ซ่อนเร้นซึ่งแฝงมากับค�า ค�าว่าราษฎรสามารถน�าไปตีความในลักษณะทางลบ สื่อถึง

                         กลุ่มประชาชนที่มีสถานะทางสังคมด้อยกว่า ในบางความหมายราษฎรนั้นเป็นเพียงสามัญชน
                         ไม่ใช่เจ้าขุนมูลนายหรือแม้แต่ข้าราชการ ส่งผลให้บทบาททางสังคมของราษฎรนั้นมีจ�ากัด
                         ท�าได้แต่เพียงปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้มีการก�าหนดไว้ คล้ายคลึงกับค�าว่าประชาชนที่สื่อถึง

                         กลุ่มคนของประเทศ เป็นคนทั่วไปภายใต้การปกครองของรัฐและกฎหมาย ประชาชนและราษฎร

                         ในแง่หนึ่ง จึงมีความหมายที่คล้ายคลึงกันในการสื่อถึงกลุ่มประชากรที่ไม่ได้มีส่วนในการปกครอง
                         มากนัก กลับกันเป็นเพียงผู้ที่ถูกปกครอง


                                 หากแต่หลังการแพร่หลายของแนวคิดประชาธิปไตย และสังคมเปิดกว้าง ค�าว่าประชาชน
                         ได้รับการตีความในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น สถานะของประชาชนมีลักษณะเป็นของเจ้าของประเทศ

                         และเจ้าของอ�านาจอธิปไตยอันพึงมีในระบอบประชาธิปไตย กระนั้น ประชาชนเองก็ยังปฏิบัติตาม

                         อย่างเชื่อฟังกับโครงสร้าง และระเบียบที่ถูกก�าหนดไว้ มีหน้าที่อย่างการเสียภาษี และไปใช้สิทธิ
                         ใช้เสียงตามที่ได้มีการก�าหนด แต่ทั้งสองค�านั้นล้วนสื่อถึงกลุ่มประชากรที่ไร้ซึ่งความกระตือรือร้น
                         ทางการเมืองหรือความสนใจต่อสังคม เน้นแต่ผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก (ศุภณัฐและ

                         จารุวรรณ, 2558) ซึ่งแตกต่างกับค�าว่าพลเมืองเป็นอย่างมาก




                                 ความเข้าใจว่าด้วยความเป็นพลเมือง


                                 พลเมือง หรือ ‘citizen’  มีรากศัพท์มาจาก 2 ค�า ได้แก่ค�าว่า ‘พละ’ ซึ่งสื่อถึงพละก�าลัง

                         และ ‘เมือง’ หรือบ้านเมือง (ศุภณัฐและจารุวรรณ, 2558) ความหมายตรงตัวของค�าดังกล่าว
                         สื่อถึงการเป็นทรัพยากรส�าคัญอย่างหนึ่งในสังคม บทบาทของการเป็นพลเมืองนั้นย่อมมากกว่า

                         การเป็นราษฎรหรือประชาชน ผู้ที่จะเป็นก�าลังหรือพลังให้แก่บ้านเมืองไม่เพียงแต่จะท�าตามกฎหมาย
                         และปฏิบัติตามอย่างเชื่อฟังเท่านั้น แต่จ�าเป็นต้องเริ่มจากการมีความเข้าใจว่าตนเองนั้น คือสมาชิก

                         ของสังคมภายใต้ระเบียบ และกฎเกณฑ์เดียวกัน (ดังเช่นราษฎรและประชาชน) และที่มากกว่านั้น
                         คือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งหรือการเป็นเจ้าของร่วมกันในสังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการมีความรู้สึกว่า
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32