Page 40 - kpiebook67036
P. 40
39
Ting ภายใต้อิทธิพลคริสต์ศาสนา
ต่อมาเมื่อศาสนจักรคริสต์ศาสนาในแถบสแกนดิเนเวียได้พัฒนาเป็นพลังที่มีการจัดตั้งทางองค์กร
อย่างยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง โดยการน�าเอาระบบการปกครองท้องถิ่นของจักรวรรดิโรมันมาใช้ในประเทศ
98
แถบสแกนดิเนเวียที่ศาสนจักรได้เข้าไปมีอิทธิพล รวมทั้งสวีเดนด้วย ในกรณีของตัวแสดงทางการเมือง
ที่เป็นคนส่วนมาก (the many) ที่มีอ�านาจต่อรองทางการเมืองเมื่อมาประชุมร่วมกันที่ ting ที่เป็น
องค์ประชุมเก่าแก่ดั้งเดิมตามจารีตประเพณีการปกครองของสวีเดนที่มีมาตั้งแต่สมัยไวกิงก็ได้รับผลกระทบ
จากคริสต์ศาสนาด้วยเช่นกัน นั่นคือ เกิด กำรรวม ting เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกว่ำ parish และ
landsting ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบและสิบเอ็ด และจากการที่สวีเดนได้รับอิทธิพลอันเกิดจากคริสต์ศาสนา
ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์สวีเดนที่หันมานับถือคริสต์ศาสนากับตระกูลอภิชนดั้งเดิม
ในท้องถิ่นที่พยายามจะรักษาอ�านาจของพวกตนไว้ เพราะการรับเอาคริสต์ศาสนาเข้ามาของกษัตริย์
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการจัดองค์กรบริหารที่เกี่ยวกับ ting โดยจากเหตุการณ์ส�าคัญที่
Torgny (the Lawspeaker) ได้กล่าวต่อ Olof Skotkonung ผู้เป็นกษัตริย์ ในราว ค.ศ. 980-1022
ว่า ประชาชนคือผู้มีอ�านาจในสวีเดน ไม่ใช่กษัตริย์ ซึ่งกษัตริย์ได้ตระหนักว่าพระองค์ไม่มีอ�านาจต่อ ting
และต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว
99
การที่กษัตริย์ยอมรับอ�านาจของประชาชนที่ ting นี้ นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์สวีเดน
อย่าง Scott ได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับอ�านาจและการใช้ความรุนแรงในสังคมสวีเดน นั่นคือ เขาเห็นว่า
สังคมสวีเดนเป็นสังคมแห่งความรุนแรง แต่กระนั้น กฎระเบียบและความเป็นนิติรัฐ (the rule of law)
ของสังคม ท�าหน้าที่เป็นตัวตีกรอบการใช้ความรุนแรงให้อยู่ภายในช่องทางครรลองของจารีตประเพณี
ผ่าน lawspeaker ในที่ประชุม ting ที่จะบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีในการลงโทษปรับหรือเนรเทศ
ผู้ที่เป็นฆาตกร หรือผู้ที่วางเพลิงเผาบ้านเรือนจะต้องถูกลงโทษโดยการท�างานหนักบริเวณชายฝั่ง
การสมัครใจที่จะยอมรับกฎหมายอาจจะเป็นหนทางเดียวที่จะตีกรอบจ�ากัดการใช้ความรุนแรงอย่างยิ่ง
ของพวกไวกิง ซึ่งกล่าวได้ว่า พวกไวกิงเคารพกฎหมายภายในชุมชนของตน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของวิถีชีวิต ใครที่ละเมิดกฎหมาย ไม่เพียงแต่จะถูกถือว่าเป็นคนนอกกฎหมายและจะต้องอยู่ภายใต้
การบังคับใช้กฎหมายลงโทษแล้ว แต่เขาผู้นั้นจะต้องประสบกับความอับอายขายหน้าในสายตาตัวเองด้วย
เพราะแม้แต่กษัตริย์เองก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกระบวนการของกฎระเบียบดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน
กับคนอื่นๆ ด้วย
ดังกรณีของ Olof Skotkonung หรือ Olof Eriksson ที่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์นอร์เวย์ และ
ปฏิเสธข้อเสนอสันติภาพของ Jarl Ragnvald ผู้เป็นอภิชนท้องถิ่น Olof Eriksson เตรียมที่จะประกาศ
สงครามกับนอร์เวย์ และได้กล่าวหา Jarl Ragnvald ในที่ประชุม ting เพราะ Ragnvald ต้องการที่จะท�า
98 T.K. Derry, A History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland, Iceland (London: George
Allen & Unwin, 1979), p. 42.
99 Franklin D. Scott, Sweden: The Nation’s History, the Swedish American Historical Society (Dexter,
Michigan: University of Minnesota, 1983), p. 59.