Page 45 - kpiebook67036
P. 45

44      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




             (universal suffrage and parliamentarism) ส่วนพวกเสรีนิยมก็ใช้ในการยกย่องรัฐสภา (the Riksdag)

             ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในกรณีของ Branting โดยเขาได้ยืนยันในปี ค.ศ. 1917 ว่า อ�านาจดั้งเดิมของสภา
             อยู่ในมือของประชาชนสวีเดนมาตั้งแต่โบราณและความสัมพันธ์ระหว่างเจตจ�านงของประชาชนและรัฐสภา

             (the Riksdag) จะต้องได้รับการสนับสนุนให้แข็งแกร่งโดยการใช้กลไกการท�าประชามติ   และนอกจาก
                                                                                         112
             ฝ่ายเสรีนิยมแล้ว พวกฝ่ายซ้ายยังได้สร้างภาพคู่ขนานระหว่างเรื่องราวในอดีตกาลและปัญหาทางการเมือง

             สวีเดนในปี ค.ศ. 1917 โดย Ivar Vennerström ได้ท้วงติงถึงการห้ามกรรมกรเดินขบวนในสวีเดน
             ทั้งที่สวีเดนเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นดินแดนต้นก�าเนิดเสรีภาพในโลก โดยเขาได้เปรียบเทียบ

             สภาพการณ์ที่ปิดกั้นเสรีภาพในการเมืองสวีเดนขณะนั้นกับเรื่องราวของ Torgny ในสวีเดนยุคโบราณ
             ที่ Torgny ในฐานะตัวแทนประชาชนได้กล่าวถึงเสรีภาพต่อกษัตริย์ของเขา และมีเสรีภาพที่จะแนะน�า

             กษัตริย์ว่าควรจะปกครองประเทศอย่างไรด้วย  113


                      จากการศึกษาของ Ihalainen และ Kurunmäki ผู้เขียนเห็นด้วยว่าเรื่องราวเชิงต�านานของ Torgny
             the Lawspeaker ได้ถูกสร้างและใช้เป็นวาทกรรมในประวัติศาสตร์นิพนธ์สวีเดนในการสนับสนุนจุดยืน

             ทางการเมืองที่แตกต่างและขัดแย้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปดจนถึงศตวรรษที่ยี่สิบ อย่างไรก็ตาม
             ในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่า เรื่องราวเชิงต�านานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าที่ประชุม ting มีอิสระเสรี

             และมีอ�านาจอันชอบธรรมในการจ�ากัดอ�านาจของกษัตริย์ และกษัตริย์จะไม่สามารถใช้ก�าลังความรุนแรง
             ในการฝ่าฝืนจารีตประเพณี และอย่างไรก็ดี Scott ก็กล่าวไว้ด้วยว่า มีการตั้งข้อสงสัยว่า เหตุการณ์

             ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์สวีเดนมากน้อยแค่ไหน แต่เขาก็ชี้ว่า เรื่องราวดังกล่าวนี้สะท้อน
             ให้เห็นถึงแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับสามัญชนในสังคมสวีเดน เพราะจะเป็นเรื่องจริงหรือ

             ไม่ก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวได้ถูกบันทึกและตราไว้ในกฎหมาย กระนั้น Scott กล่าวด้วยว่า สังคมสวีเดน
             ไม่ได้ถือหลักที่ว่า กรณีหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นและตัดสินไปแล้วจะต้องกลายเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป

             ในอนาคต เพราะสังคมโบราณสวีเดนไม่ได้ยึดถือหลักที่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นมาก่อนจะต้องเป็นไปตามนั้น
             เสมอไป แต่จะพิจารณาแตกต่างเป็นกรณีๆ ไป และพยายามที่จะประยุกต์ใช้หลักการที่เป็นพื้นฐาน

             ในแต่ละกรณี อันเป็นทรรศนะที่ต้องการให้เกิดความยุติธรรมในแต่ละกรณี จึงท�าให้สถานะต�าแหน่งของ
             lawspeaker ของ ting มีความส�าคัญยิ่ง เพราะ lawspeaker จะไม่เพียงแต่เป็นผู้มีความจ�าดีเลิศในตัวบท

                                                                                      114
             กฎหมายและกล่าวย�้าถึงตัวบทเหล่านั้น แต่ผู้ที่ตีความและบังคับใช้กฎหมายด้วย   ซึ่งปรากฏการณ์
             ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปใน ting ต่างๆ ของสวีเดน ก่อนหน้าที่จะถึงช่วงที่มีการออกกฎหมายที่เป็น

             ลายลักษณ์อักษรและบังคับใช้ทั่วทั้งอาณาจักร




             112   Pasi Ihalainen, “The 18 -Century Traditions of Representation in a New Age of Revolution: History Politics
                                   th
             in the Swedish and Finnish parliaments, 1917-1919,” Scandinavian Journal of History, Vol. 40, 1 (2015): 73-74.
             113   Pasi Ihalainen, “The 18 -Century Traditions of Representation in a New Age of Revolution: History Politics
                                   th
             in the Swedish and Finnish parliaments, 1917-1919,” Scandinavian Journal of History, Vol. 40, 1 (2015): 74.
             114   Franklin D. Scott, Sweden: The Nation’s History, the Swedish American Historical Society (Dexter,
             Michigan: University of Minnesota, 1983), p. 59.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50