Page 43 - kpiebook67036
P. 43

42      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




                      ความคิดความเชื่อโบราณที่ถูกน�ามาใช้ในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยสวีเดนและใช้

             ในการต่อสู้ทางการเมืองทั้งภายในสวีเดนและในเวทีการเมืองระหว่างประเทศคือ เรื่องราวที่เป็นต�านาน
             ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในศตวรรษที่สิบสามเกี่ยวกับบทบาทของ Torgny Lagman (Torgny the Lawspeaker)

             ที่เป็นผู้น�าวีรบุรุษชาวนาในตอนต้นศตวรรษที่สิบเอ็ด โดย Torgny เป็นผู้น�าของที่ประชุม ting ในการปกป้อง
             ชาวนาจากแผนการที่กษัตริย์ Olof Skotkonung จะท�าสงครามพิชิตนอร์เวย์ และผู้ที่น�าต�านานของ Torgny

             มาใช้เป็นคนแรกคือ Thomas Thorild โดยในปี ค.ศ. 1793 Thorild ได้กล่าวว่า “อ�านาจทั้งปวงในสวีเดน
             คืออ�านาจของประชาชน; ความยุติธรรมทั้งหลายคือความยุติธรรมของประชาชน” (all power in Sweden

             is the power of the people; all justice is the justice of the people) อีกทั้ง ในช่วงปลายทศวรรษ 1790
             Adolf Modeer ผู้ซึ่งเป็นเลขาธิการของสมาคมรักปิตุภูมิ (the Patriotic Society) และเป็นนักเขียนที่เผยแพร่

             งานเขียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความรักปิตุภูมิ (publicist of economic and patriotic journals)
             ต่อสาธารณะ ได้กล่าวไว้ ถึงสวีเดนในช่วงการปกครองในยุคไวกิงช่วงระหว่างศตวรรษที่เก้าและสิบเอ็ดว่า

             เป็น “ช่วงเวลาที่ดีของสวีเดน” โดยยืนยันว่า ชาวนาในสมัยนั้นมีส่วนร่วมในการปกครองของประเทศ ซึ่งท�าให้
             การปกครองขณะนั้นมีลักษณะร่วมที่เด่นชัดระหว่าง “ประชาธิปไตย-กษัตริย์” (democratic-monarchical)

             ซึ่งในความเห็นของ Modeer สังคมสวีเดนก่อนหน้าที่จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา การปกครอง
             ของชาวสวีเดนขณะนั้น (pagan rule) ไม่ได้ยอมรับการมีฐานันดร เพราะจารีตประเพณีการปกครอง

             ของสวีเดนก่อนหน้านั้นเป็นหลักการที่ยืนยันว่า มนุษย์ทุกคนเสรีและเท่าเทียมกัน ต่อทรรศนะของ
             Thorild และ Modeer นักประวัติศาสตร์ชาวสวีเดนในเวลาต่อมาอย่าง Anton Blanck (มีชีวิตอยู่ระหว่าง

             ค.ศ. 1881-1951) เห็นว่า เป็นการสร้างภาพอุดมคติของการปกครองในยุคไวกิงเพื่อน�ามามาใช้สนับสนุน
             ความเห็นและการวิจารณ์ในบริบทสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น ที่อยู่ท่ามกลางกระแสความตื่นตัว

             ทางการเมืองที่เป็นผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส รวมทั้งกระแสปฏิกิริยาโต้กลับจากกลุ่มผู้มีอ�านาจด้วย  107


                      ในการศึกษาของ Pasi Ihalainen เขาได้ท�าการส�ารวจการใช้ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่สิบแปด
             ในการเมืองช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ โดยวิเคราะห์นัยทางการเมืองของประวัติศาสตร์นิพนธ์ต่างๆ และ

             ชี้ให้เห็นถึงการที่ฝ่ายสภาได้ใช้และเลือกใช้ความจ�าโบราณในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (the Age of
             Absolutism) และในยุคแห่งเสรีภาพ (the Age of Liberty) และในยุคระบอบกุสตาฟ (the Gustavian Age:

             1772-1809) ในการถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองของสวีเดน    108


                      Pasi Ihalainen พบตัวอย่างต่างๆ ของการใช้และเลือกใช้และตีความประวัติศาสตร์เพื่อสนับสนุน
             จุดยืนทางการเมืองของตนในการเมืองสวีเดน เช่น Fredrik Lagerroth ฝ่ายซ้าย---ซึ่งตามความหมาย

             ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ จะหมายรวมทั้งพวกเสรีนิยมและสังคมนิยม---ได้ตีความประวัติศาสตร์
             การปกครองสวีเดนตั้งแต่ยุคไวกิงว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างการปกครองแบบเอกาธิปไตย (autocracy



             107   Jussi Kurunmäki, “The making of ‘Swedish democracy’: Anti-aristocratic, royalist, reformist and exemplary,”
             Journal of Modern European History, Vol. 17, 2(2019): 149-150.
             108   Pasi Ihalainen, “The 18 -Century Traditions of Representation in a New Age of Revolution: History Politics
                                   th
             in the Swedish and Finnish parliaments, 1917-1919,” Scandinavian Journal of History, Vol. 40, 1(2015): 71.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48