Page 34 - kpiebook67036
P. 34
33
กล่าวได้ว่า ting ในยุคไวกิง คือสภาที่เป็นที่ชุมนุมสาธารณะของกลุ่มเสรีชน อันได้แก่
68
เจ้าที่ดินขนาดใหญ่ และชาวไร่ชาวนา ชาวประมง ช่างต่างๆ ที่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงชั้นล่างสุด
ไม่นับทาส จากยุคไวกิง (ค.ศ. 790-1050) จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่สิบสาม ชาวนาท้องถิ่นถือเป็นกลุ่ม
ที่มีอิทธิพลในที่ประชุม ting โดยระดับของอ�านาจจะผันตามระดับของความมั่งคั่ง พึงกล่าวไว้ด้วยว่า
69
ในการเลือกบุคคลขึ้นเป็นกษัตริย์สวีเดนโดยที่ประชุม ting ในยุคแรกๆ นี้ ไม่ได้เลือกจากทั่วทั้งอาณาจักร
แต่จะมีการเลือกในหมู่ชนที่เรียกว่า Svear เท่านั้น ซึ่งสภาวะดังกล่าวนี้ก่อให้เกิด การไม่ยอมรับจาก
ผู้คนในพื้นที่หลักอื่นๆ ของอาณาจักร อันได้แก่ ชนชาว the Goths (Gotar) และน�ามาซึ่งสาเหตุของ
ความขัดแย้งต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่าง ชาว Swedes (Svear) และชาว Goths หรือ the Geaters (Gotar)
ที่ปรากฏในต�านานเรื่อง Beowulf
70
ในการประชุมที่ ting แม้ว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพูดแต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่พูดจะมีอิทธิพลและได้รับ
การยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน การที่คนๆ หนึ่งจะมีอิทธิพลและได้รับการยอมรับจะผันแปรไปตามปัจจัย
ดังต่อไปนี้คือ
1. สถานะทางเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่ง
2. สถานะศักยภาพความสามารถทางปัญญาความรู้
3. สถานะก�าเนิดและครอบครัว 71
Ting สภาท้องถิ่นที่แตกต่างจากสภาประชาชน
ในประชาธิปไตยเอเธนส์
และถ้าหากจะ “จินตนาการ” ไปว่า สังคมสวีเดนในยุคไวกิงเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีชาวนา
ชาวไร่ ชาวประมง ช่างเป็นคนส่วนใหญ่ เราก็จะพบว่าสวีเดนก็อาจจะดูไม่ต่างจากสังคมประชาธิปไตย
กรีกโบราณที่เอเธนส์ นั่นคือ ไม่ใช่คนทุกคนในสังคมสวีเดนจะมีสิทธิ์มีเสียง แต่จะเป็นเฉพาะบางส่วน
ของประชากรในสังคมสวีเดนเท่านั้นที่มีสิทธิ์มีเสียง เพราะคนที่เป็นไพร่ทาสแรงงานจ�านวนมากจะไม่มี
68 Alexandra Sanmark, “Administrative Organisation and State Formation: A Case Study of Assembly Sites
in Södermanland, Sweden”, Medieval Archaeology, Vol. 53 (2009): 205.
69 Alexandra Sanmark, “Administrative Organisation and State Formation: A Case Study of Assembly Sites
in Södermanland, Sweden”, Medieval Archaeology, Vol. 53 (2009): 205.
70 Walter Sandelius, “Dictatorship and Irresponsible Parliamentarism---A Study in the Government of Sweden,”
Political Science Quarterly, Vol. 49, 3(Sep., 1934): 351.
71 Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),
pp. 72-73.