Page 30 - kpiebook67036
P. 30
29
และถ้ารวมกลุ่มทาสเข้าไปก็จะมีกลุ่มที่สี่ คือ พวกที่เรียกว่า thrall ที่ไม่มีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สิน ซึ่งกลุ่มทาสในสังคมสวีเดนจะไม่ถือว่าเป็นตัวแสดงทางการเมืองภายใต้กรอบการศึกษา
ในงานวิจัยนี้ 54
สภาพทางสังคมการเมืองของสวีเดนที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะพบว่า ไม่แตกต่างอะไรจาก
สังคมอื่นๆ ในยุโรปหรือที่อื่นๆ มากนัก แต่ที่เป็นลักษณะพิเศษของสังคมสวีเดนและสังคมในแถบ
สแกนดิเนเวีย คือ การที่สังคมในแถบสแกนดิเนเวียมีองคาพยพทางสังคมการเมืองที่เรียกว่า ting และ
ที่ส�าคัญคือ ting ในสวีเดน มีความเข้มแข็งกว่าที่อื่นๆ ซึ่ง ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เรียกองคาพยพ
หรือ ting นี้ว่า “สภาท้องถิ่น” และในส่วนต่อไปนี้ ผู้เขียนจะอธิบาย ting และบทบาททางสังคมการเมือง
ในสังคมสวีเดนโดยละเอียด เพราะสภาท้องถิ่นเป็นรากฐานส�าคัญในทางการเมืองการปกครองของสวีเดน
มาตลอดตั้งแต่ก่อนยุคกลางและน่าจะมีส่วนส�าคัญต่อการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองของสวีเดน
เงื่อนไขของการเมืองการปกครองของสวีเดนก่อนเข้าสู่การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประกอบไปด้วยตัวแสดงทางการเมืองสามตัวแสดงดังที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่เป็นที่น่าสังเกตและเป็นลักษณะ
ที่โดดเด่นของสวีเดนก็คือ วัฒนธรรมทางการเมืองของสวีเดนที่ได้เปิดพื้นที่ให้กับการมีส่วนร่วมและการมี
บทบาทของคนส่วนใหญ่หรือคนระดับ “ชาวบ้าน” หรือ “สามัญชน” ในแต่ละท้องถิ่นมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ซึ่งแตกต่างจากหลายๆ ประเทศในโลกที่เมื่อย้อนเวลากลับไปในยุคโบราณ จะไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนของ
การมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่หรือไม่ปรากฏให้เห็นถึงบทบาทของคนส่วนใหญ่อย่างในกรณีของสวีเดน
ที่กล่าวมาเช่นนี้ มิได้หมายความว่า ในกรณีของประเทศอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานของ
การมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในยุคโบราณของประเทศเหล่านั้น จะส่งผลให้ทฤษฎีการปกครอง
แบบผสมที่อ้างว่า การปกครองแบบผสมเป็นการปกครองตามธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของตัวแสดง
สามตัวแสดงผิดพลาด เพราะในการปกครองของประเทศต่างๆ ในทุกยุคทุกสมัยย่อมจะต้องมีประชาชน
หรือผู้ใต้ปกครองที่เป็น คนส่วนใหญ่เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพียงแต่จะมีบทบาทมากน้อยแค่ไหน
เพียงไร และมีช่องทางหรือ มีการเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วมและหรือให้แสดงออกทางการเมืองอย่างเป็น
ทางการและถาวรหรือไม่ ในยุคโบราณของบางประเทศ ไม่ได้มีช่องทางหรือมีการเปิดพื้นที่อย่างเป็นทางการ
แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังสามารถแสดงออกหรือมีส่วนร่วมได้อย่างไม่เป็นทางการ และเป็นบางครั้งบางคราว
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างในกรณีของไทย หากข้อมูลถูกต้อง ในสมัยสุโขทัย ที่มีการแขวนกระดิ่ง
เพื่อให้ผู้ใต้ปกครองที่เดือดร้อนสามารถสั่นกระดิ่งส่งเสียงร้องเรียนหรือร้องทุกข์ต่อผู้ปกครองได้ ซึ่งถือว่า
เป็นช่องทางที่เป็นทางการ แต่ขอบเขตหรือพื้นที่ในการมีส่วนร่วมในกรณีนี้ก็ถูกจ�ากัดอยู่เฉพาะเรื่อง
การร้องเรียนร้องทุกข์เท่านั้น แต่ข้อดีในกรณีนี้ก็คือ คนส่วนมากสามารถติดต่อกับเอกบุคคลที่เป็นผู้ปกครอง
ได้โดยตรง และการรับฟังเรื่องร้องทุกข์ถือได้ว่า ผู้ปกครองมิได้ใช้อ�านาจอย่างสมบูรณ์เด็ดขาดโดยไม่ฟัง
เสียงของคนส่วนมากเสียเลย หรือไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเอกบุคคลและคนส่วนมากเสียเลย
54 ผู้สนใจเรื่อง “ทาส: สถานะของความเป็นทาสและการเลิกทาสในสวีเดนยุคกลาง” โปรดดู ภาคผนวก