Page 26 - kpiebook67036
P. 26

25





                  ช่วงชั้นในสังคมชาวนายุคไวกิงที่ยังไม่เคร่งครัดตายตัว   ท�านองเดียวกับที่ Sigurdur Lindal ได้กล่าวถึง
                                                                 39
                  สังคมสวีเดนช่วงนี้ไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชาวนากับผู้น�าหรือ “หัวหน้าเผ่า” (chieftain) ยังเป็นไป
                  ในลักษณะหลวมๆ ไม่เคร่งครัดไม่เป็นทางการมากนัก ชาวนายังมีเสรีภาพของตัวเองอยู่มาก
                                                                                                   40

                          และในสภาพทางสังคมการเมืองดังกล่าวนี้ ความแตกต่างเหลื่อมล�้าภายในเผ่าหรืออาณาจักร

                  เล็กๆ จะยังมีไม่มากนักและไม่ชัดเจนตายตัวอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปข้างต้นถึงการเลื่อนไหลขึ้นทางช่วงชั้น
                  ระหว่างชนชั้นระดับหัวหน้าครัวเรือน (householder หรือ karl) กับชนชั้นระดับหัวหน้าเผ่าและกษัตริย์


                  39    John F. Embree เสนอแนวคิดที่ว่าด้วย “โครงสร้างสังคมอย่างหลวม” (A Loosely Structured Social System)
                  เพื่ออธิบายสังคมไทย โดยนิยามว่าโครงสร้างสังคมอย่างหลวม นั่นคือสังคมที่มีบูรณาการอย่างหลวม (loosely
                  integrated) “มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนพฤติกรรมแบบปัจเจก” ซึ่งท�าให้สังคมนั้นขาดแบบแผนและระเบียบวินัย อันเป็น
                  ลักษณะที่ตรงข้ามกับ “โครงสร้างสังคมอย่างแน่นหนา” (A Tightly Structured Social System) อย่างสังคมญี่ปุ่น ซึ่งเป็น

                  “สังคมที่มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน และให้ความส�าคัญกับการปฏิบัติตามสิทธิ์และหน้าที่ระหว่างกันในสังคม”
                  โดย Embree ได้ให้รายละเอียดถึงพันธะหน้าที่ที่ไม่ผูกมัดระหว่างสมาชิกในครอบครัวไทย ทัศนคติต่อการท�างาน
                  ที่ขาดความจริงจังของคนไทย การรักสนุกของคนไทย ตลอดจนถึงความไม่ชัดเจนในการด�าเนินการทูตไทยหรือ
                  การขาดระเบียบแบบแผนในทางการเมืองการปกครองไทย ทั้งนี้ Embree กล่าวว่า สังคมที่มีโครงสร้างอย่างหลวม
                  ก็มีประโยชน์และหน้าที่ประการส�าคัญคือสามารถปรับตัวเข้ากับหรือปรับตัวรับวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้โดยไม่ส่งผลกระทบ
                  รุนแรงต่อสังคมโดยรวมต่อแนวคิดดังกล่าว A. Thomas Kirsh เห็นถึงความพยายามของ Embree ในการสร้างกรอบ
                  เชิงสถาบันในการเปรียบเทียบสังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่น กระนั้น Kirsh เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวมีปัญหาที่ส�าคัญคือ

                  การปะปนวัฒนธรรม สังคม และระบบสังคมเข้าด้วยกัน เน้นการพิจารณามิติทางวัฒนธรรมและทางจิตวิทยามากกว่า
                  ในมิติโครงสร้างทางสังคม ทั้งยังมีการตัดสินพฤติกรรมในสังคมไทยในเชิงปทัสถานด้วยภาษาเชิงลบ ซึ่ง Kirsh เห็นว่า
                  ประเด็นดังกล่าวสะท้อนการวางประเด็นปัญหาของ Embree ที่มองว่าสังคมไทยมีลักษณะ “แปลก” ไปจากจุดยืนทาง
                  ทฤษฎีและความเข้าใจทางสังคมศาสตร์ในสมัยนั้น และท�าให้ Kirsh เสนอให้พิจารณางานเขียนของ Embree ในฐานะ
                  งานที่เปิดประเด็นให้ทบทวนทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ให้ครอบคลุมและสามารถอธิบายสังคมที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น
                  John F. Embree, “Thailand - A Loosely Structured Social System”, American Anthropologist, Vol 52 .2 (1950):
                  181-193. และ Hans-Dieter Evers (editor), Loosely Structured Social Systems: Thailand in Comparative
                  Perspective (New Haven: Yale University, Southeast Asia Studies Cultural Report Series No. 17, 1969).
                  ในขณะเดียวกัน มีความพยายามที่จะนิยามกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยโครงสร้างสังคมอย่างหลวมและอย่างหนาแน่นให้

                  ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น Bryce F. Ryan and Murray A. Status ที่เห็นว่าโครงสร้างสังคมอย่างหลวมให้พื้นที่แก่พฤติกรรมที่
                  “ไม่มีโครงสร้าง ไม่มีแบบแผน และขาดการปฏิบัติเป็นกิจวัตร” และเสนอเกณฑ์แก่สังคมโครงสร้างอย่างหลวมว่า
                  เป็นสังคมที่มีช่องทางแสดงปทัสถานที่หลากหลาย มีความอดทนอดกลั้นสูงต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบน และมีชุดคุณค่า
                  ทางสังคมองค์กรอย่างเป็นทางการที่ยังไม่พัฒนา หรือ Pertti J. Pelto ที่ได้พัฒนาเกณฑ์ 12 ประการเพื่อวัดระดับ
                  ความหลวมหรือหนาแน่นของโครงสร้างสังคม โดยเกณฑ์ดังกล่าววัดลักษณะเชิงโครงสร้างสามประการ ได้แก่ การเป็น
                  เจ้าของทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกันในชุมชน ความเป็นองค์กรของกลุ่มเครือญาติ และล�าดับชั้นของอ�านาจทางศาสนา
                  และทางพลเรือนในชุมชน ดู Pertti J. Pelto, “The differences between “tight” and “loose” societies”, Transaction,

                  April 37-40(1968): 37-40.
                  40    Sigurdur Lindal, “Early Democratic Traditions in the Nordic Countries,” in Nordic Democracy: Ideas,

                  Issues, and Institutions in Politics, Economy, Education, Social and Cultural Affairs of Denmark,
                  Finland, Iceland, Norway, and Sweden, editorial board: Erik Allardt, Nils Andren, Erik J. Friis, Gylfi p. Gislason,
                  Sten Sparre Nilson, Henry Valen, Frantz Wendt, Folmer Wisti, (Copenhagen: Det Danske Selskab, 1981), p. 32.
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31