Page 22 - kpiebook67036
P. 22
21
ting สิทธิ์ในการเลือกและถอดถอนกษัตริย์
และปกครองตนเองของชาวนา :
เงื่อนไขทางการเมืองการปกครองของ
สวีเดนก่อนยุคกลาง
“การปกครองในสมัยกลางนั้นเป็นแบบกระจายอ�านาจ
แคว้นต่างๆ ได้ท�าสัญญามอบอธิปไตยให้กับกษัตริย์
แต่ยังมีสิทธิ์ปกครองตนเองอยู่พอสมควร
สิทธิ์ดังกล่าวนี้รวมถึงสิทธิ์ในการออกกฎหมาย
ในแคว้นของตนเองโดยสภาท้องถิ่น (The Ting)”
“ชาวนาของสวีเดนผิดแผกแตกต่างจากชาวนาในประเทศยุโรปอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียด้วยกัน
กล่าวคือ ไม่เคยตกเป็นกึ่งทาสติดที่ดิน (Serfdom) เลย”
ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ (2528) 24
24 ข้อความทั้งสองนี้มาจาก ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ, การปกครองประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก นอรเว
ฟินแลนด์ และสวีเดน), (กรุงเทพฯ: ม.ป.ท., 2527), หน้า 48 (เชิงอรรถที่ 1) ทั้งนี้ หนังสือ การปกครองประเทศ
ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก นอรเว ฟินแลนด์ และสวีเดน) เป็นเอกสารโรเนียว น่าจะอยู่ในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น (ค้นได้จาก 354.48 ปก) จากการส�ารวจวรรณกรรมทางวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์
ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองสวีเดน ผู้เขียนพบว่า เอกสารเรื่อง การปกครองประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย
(เดนมาร์ก นอรเว ฟินแลนด์ และสวีเดน) ของ รศ. ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เป็นเอกสารเล่มเดียวเท่านั้นที่มีอยู่
ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จนบัดนี้ ที่อธิบายความเป็นมาของการเมืองการปกครองของสวีเดนในทางรัฐศาสตร์
ถือได้ว่า ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เป็นนักวิชาการผู้บุกเบิกการเขียนเอกสารที่เป็นต�าราและการสอนการปกครองประเทศ
ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เป็นคนแรกในประเทศไทย ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ประพันธ์พงศ์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2562
พบว่า เหตุผลที่สนใจเปิดสอนและเขียนต�าราวิชาดังกล่าวนี้เพราะได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่ประเทศสวีเดนที่มหาวิทยาลัย
สตอกโฮล์ม โดยศึกษากับ Niel Andren ศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม และด้วยความเป็นผู้รู้