Page 23 - kpiebook67036
P. 23

22      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




                      ในการท�าความเข้าใจเงื่อนไขทางการเมืองการปกครองทั้งก่อนและหลังที่สวีเดนจะเข้าสู่

             การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผู้เขียนจะพิจารณาและวิเคราะห์การเมืองการปกครองสวีเดน
             ภายใต้กรอบทฤษฎีหลักของงานวิจัย นั่นคือ ทฤษฎีการปกครองแบบผสม (mixed constitution) ที่มี

             สมมุติฐานเบื้องต้นว่า การปกครองแบบผสมเป็นรูปแบบการปกครองตามธรรมชาติ (natural government)
                                                                                                      25
             อันปรำกฏให้เห็นได้ในกำรปกครองของประเทศต่ำงๆ และทุกยุคทุกสมัยเมื่อสังคมนั้นๆ

             ได้มีพัฒนาการมาถึงจุดหนึ่ง เพรำะหำกยังไม่มีพัฒนำกำรมำถึงจุดดังกล่ำว ภำพของตัวแสดงทำง
             กำรเมืองของกำรปกครองแบบผสมก็จะยังไม่มีควำมชัดเจน แต่ถ้ำมีพัฒนำกำรมำถึงจุดดังกล่ำว

             กำรปกครองแบบผสมก็จะปรำกฏให้เห็นอันเป็นธรรมชำติของทุกสังคม โดยการปกครองแบบผสมนี้
             มีองค์ประกอบหลักที่เป็นตัวแสดงส�าคัญสามตัวแสดงอันได้แก่ เอกบุคคล (the one) คณะบุคคล (the few)

             และคนส่วนมาก (the many) โดยตัวแสดงทั้งสามนี้ จะมีบทบาทมากน้อยต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
             และหากตัวแสดงใดมีบทบาทน�าในช่วงเวลาที่ยาวนาน รูปแบบการปกครองของประเทศนั้นในช่วง

             เวลานั้นก็จะเป็นการปกครองแบบผสมที่น�าโดยตัวแสดงดังกล่าว เช่น เมื่อพิจารณาการปกครองแบบ
             สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy or absolutism) ภายใต้กรอบทฤษฎีการปกครองแบบผสม

             ก็คือ การปกครองแบบผสมที่อ�านาจน�าอยู่ที่เอกบุคคลเป็นส�าคัญและสามารถรักษาสภาพดังกล่าวไว้ได้
             ยาวนานเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นรูปแบบหรือระบอบการปกครอง มิใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางการเมือง

             การปกครองแบบชั่วคราวหรือเฉพาะสถานการณ์หรือช่วงเวลาสั้นๆ (epiphenomenon) และเช่นกัน
             ในกรณีที่คณะบุคคลหรือคนส่วนมากมีบทบาทน�า    26


             ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์และระบบรัฐสภาและการเมืองการปกครองสวีเดน ส่งผลให้ประพันธ์พงศ์ได้รับถ่ายทอด
             องค์ความรู้ดังกล่าวนี้มา และยังได้มีโอกาสถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบผู้ตรวจการรัฐสภา (ombudsman) ของ
             สวีเดนให้แก่ ชัยอนันต์ สมุทวนิช (ศาสตราจารย์ ดร.) ombudsman ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเรียกว่า “ผู้ตรวจการ

             รัฐสภา” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ประพันธ์พงศ์ยังเห็นความส�าคัญของเรื่องกลุ่มผลประโยชน์และ
             พรรคการเมืองในฐานะที่เป็นรากฐานส�าคัญของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยได้เปิดสอนวิชาดังกล่าวนี้ด้วย
             นอกเหนือไปจากวิชาการปกครองประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย อิทธิพลของ Niel Andren ต่อประพันธ์พงศ์ปรากฏ
             ให้เห็นชัดเจนในเอกสาร “การปกครองประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย” ของประพันธ์พงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Niel Andren,
             Modern Swedish Government (Stockholm: Almqvist & Wiksell, 1961) และ Niel Andren, Government and
             Politics in the Nordic Countries (Stockholm: Almqvist & Wiksell,1964) ที่ได้รับการอ้างอิงเป็นหลัก
             25    ในการใช้ค�าว่าการปกครองตามหรือโดยธรรมชาตินี้หมายถึงหลังจากที่มนุษย์ได้เริ่มเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

             และเริ่มมีการจัดระเบียบในการใช้ชีวิตร่วมกัน เมื่อมีพัฒนาการมาถึงจุดหนึ่ง ปรากฏการณ์ของการปกครองแบบผสม
             ก็จะปรากฏให้เห็นหรือเกิดขึ้นมาเอง มิได้หมายความว่า เมื่อเริ่มมีมนุษย์ปฏิสัมพันธ์กันตั้งแต่แรกเริ่มจะเกิดการปกครอง
             แบบผสมขึ้นทันที โดยเริ่มต้นจากการผสมระหว่างการปกครองโดยคนๆ เดียว (monarchy) กับการปกครองโดยคนส่วนใหญ่
             (democracy) ดังที่เพลโตได้เขียนไว้ว่า “…There are two mother-forms of constitution, so to call them, from which
             one may truly say all the rest are derived. Of these the one is properly termed monarchy, the other democracy,
             the extreme case of the former being the Persian polity, and of the latter the Athenian: the rest are practically
             all, as I said, modifications of these two.” Plato, the Laws, Vol. I, translated by R.G. Bury, (Cambridge,
             Massachusetts: Harvard University Press, 1984), pp. 223-224 (693d-e).
             26    ดู ทฤษฎีการปกครองแบบผสม เพิ่มเติมได้ใน ไชยันต์ ไชยพร, “ดุลอ�านาจทางการเมืองของไทยจากมุมมองทฤษฎี

             การปกครองแบบผสม,” ใน ดุลอ�านาจในการเมืองการปกครองไทย, ใน KPI Year Book 2558. (นนทบุรี: สถาบัน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28