Page 24 - kpiebook67036
P. 24

23





                          แต่อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวไปข้างต้น ผู้อ่านที่อ่านอย่างรอบคอบและมีฐานคิดที่มีเหตุมีผล

                  อาจจะสงสัยต่อค�ากล่าวของผู้เขียนที่ว่า การปกครองแบบผสมเป็นรูปแบบการปกครองตามธรรมชาติ
                  (natural government) อันปรำกฏให้เห็นได้ในกำรปกครองของประเทศต่ำงๆ และทุกยุคทุกสมัย

                  เมื่อสังคมนั้นๆ ได้มีพัฒนาการมาถึงจุดหนึ่ง เพรำะหำกยังไม่มีพัฒนำกำรมำถึงจุดดังกล่ำว
                  ภำพของตัวแสดงทำงกำรเมืองของกำรปกครองแบบผสมก็จะยังไม่มีควำมชัดเจน แต่ถ้ำมีพัฒนำกำร

                  มำถึงจุดดังกล่ำวกำรปกครองแบบผสมก็จะปรำกฏให้เห็นอันเป็นธรรมชำติของทุกสังคม จุดหนึ่ง
                  หรือจุดดังกล่าวที่ว่านี้คืออะไร ?


                          ผู้เขียนจะอธิบาย “จุดดังกล่าว” นี้โดยใช้สวีเดนเป็นตัวอย่าง กล่าวคือ ถ้าย้อนพิจารณากลับไปใน

                  ประวัติศาสตร์โบราณของสวีเดนก่อนยุคกลาง จะพบว่า ในช่วงต้นยุคไวกิงของสวีเดน สภาพเงื่อนไขทาง
                  สังคมจะยังไม่ปรากฏสามตัวแสดงทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ จะยังไม่ปรากฏผู้ที่ด�ารงต�าแหน่ง

                  กษัตริย์หรือต�าแหน่งผู้น�าสูงสุดที่ชัดเจน แม้ว่าจะมีต�านานเรื่องเล่า (saga) เกี่ยวกับตระกูลที่ชื่อว่า Ynglinga
                                                                                             27
                  ที่เป็นผู้น�าของเหล่าชนสวีเดนในยุคไวกิงที่มีการสืบสายโลหิตของการเป็นผู้น�าก็ตาม   แต่ก็ไม่มีความ
                  แน่นอนที่จะเป็นกฎกติกาที่ชัดเจนในการสืบสายโลหิตดังกล่าว   เรื่องราวของตระกูล Ynglinga นี้อาจ
                                                                         28
                  จะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายจากภาพยนตร์เกี่ยวกับต�านานนักรบผู้น�าของชนไวกิงจากเรื่อง “Beowulf”  29






                  ลักษณะของสังคมชาวนาในยุคก่อนยุคกลาง




                          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะสามารถกล่าวได้อย่างแน่นอนก็คือ สังคมสวีเดนในช่วงนี้ประกอบไปด้วย
                  คนสามชนชั้นทางสังคมที่ชัดเจน โดยในการศึกษาของ Jón Viðar Sigurðsson ชนชั้นทางสังคม

                  แบ่งออกเป็น อันได้แก่ กษัตริย์/หัวหน้าเผ่า (kings, Konnungar /chieftains jarl) หัวหน้าครัวเรือน
                  (householders/karl)  และทาส (unfree thralls, or slaves)   และในการศึกษาของ Philip Line ผู้ปกครอง
                                                                    31
                                   30


                  พระปกเกล้า, 2558), หน้า 16-27; ไชยันต์ ไชยพร, สติธร ธนานิธิโชติ, บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์, ควำมเป็นสถำบัน
                  ของพรรคกำรเมืองกับกำรพัฒนำประชำธิปไตย, (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2563), หน้า 50-111.
                  27    Knut Helle (editor), The Cambridge History of Scandinavia, Volume I: Prehistory to 1520 (Cambridge:

                  Cambridge University Press, 2003), p. 222.
                  28    Walter Sandelius, “Dictatorship and Irresponsible Parliamentarism---A Study in the Government of Sweden,”
                  Political Science Quarterly, Vol. 49, No. 3 (Sep., 1934): 331.
                  29    ภาพยนตร์เรื่อง Beowulf (2007)
                  30    Jón Viðar Sigurðsson, Scandinavia in the Age of Vikings, translated by Thea Kveiland (Ithaca: Cornell
                  University Press, 2021), p. 91.
                  31    Sigurðsson กล่าวว่า “Viking Age society had clear-cut social classes: kings/chieftains, householders, and
                  unfree thralls, or slaves.” ดู Jón Viðar Sigurðsson, Scandinavia in the Age of Vikings, translated by Thea

                  Kveiland, (Ithaca: Cornell University Press, 2021), p. 90.
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29