Page 33 - kpiebook67035
P. 33
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
พลเมือง คือผู้ที่มีจิตสำานึกร่วมในการเป็นเจ้าของประเทศ สำานึกในสิทธิ หน้าที่ และมีความ
รับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ พลเมืองจึงเป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน
ส่วนรวมมากกว่าประโยชนส่วนตัว ไม่เพิกเฉยต่อเรื่องที่เป็นประเด็นสาธารณะ และไม่ใช่ผู้ที่รอรับ
ความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น แต่เป็นคนที่พร้อมช่วยเหลือเมื่อผู้อื่นต้องการ ทั้งยังต้องการ
มีส่วนร่วมรับผิดชอบและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้
ก็ต่อเมื่อมีความเป็นพลเมือง
การกล่าวถึงพลเมืองและประชาชน ควบคู่กันไป แสดงให้เห็นถึงนัยยะที่แตกต่างกัน
ของสองคำานี้ ดังที่นพรัตน วงศวิทยาพาณิชย (2553) กล่าวว่า “ประชาชน” กับ “พลเมือง”
เป็นคำาที่ต่างกัน หากกล่าวถึงประชาชน จะหมายถึงคนที่ยังไม่มีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ดังนั้น
สถานะของประชาชนตามความหมายนี้จึงไม่สะท้อนความเป็นกำาลังของเมือง ตามที่สุภีร สมอนา
ให้ความหมายไว้ หรือตามที่ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์ อ้างถึง เพราะพลเมืองจะมีสิทธิเสรีภาพ
มีความรับผิดชอบ และมีความเสียสละต่อสังคมส่วนรวม รวมทั้งยังมีหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น
หน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชนของชาติ ฯลฯ หากไม่ได้ทำาตามหน้าที่ที่กฎหมาย
กำาหนดไว้อย่างครบถ้วนถือว่าไม่ใช่พลเมือง
เพื่อให้บ่งชี้ลักษณะของพลเมืองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อาจพิจารณาได้จากถวิลวดี บุรีกุล
และคณะ (2557) ที่ศึกษาคุณสมบัติของพลเมืองไทย โดยแบ่งพลเมืองเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
พลเมืองที่ให้ความสำาคัญกับวัฒนธรรม (เช่น ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเสียสละเวลาทำางานส่วนรวม
ปฏิบัติตามกฎหมาย ฯลฯ) กับพลเมืองที่ให้ความสำาคัญกับอิสรภาพและความก้าวหน้า (เช่น
สามารถวิเคราะหและแสดงความเห็นทางการเมือง มีความรู้ด้านการเมือง เป็นสมาชิกกลุ่ม ฯลฯ)
นอกจากนี้ ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2563) ทำาการศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมือง
ของสังคมไทย ได้แบ่งพลเมืองออกเป็น 4 ระดับ และกำาหนดให้ระดับ 2 - 4 สะท้อนคุณลักษณะ
ประชาชนที่มีความเป็นพลเมืองเข้มแข็ง ได้แก่ ตระหนักรู้ (เช่น สนใจข่าวสาร เข้าใจหน้าที่และ
สิทธิพลเมือง เคารพสิทธิผู้อื่น) กระตือรือร้น (เช่น มีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนรวมเป็นประจำา ปฏิบัติ
ต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม) และผูกพันต่อการมีส่วนร่วม (เช่น เสียสละเพื่อส่วนรวม ริเริ่มเชิญชวน
ผู้อื่น เป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
การแบ่งระดับหรือจำาแนกลักษณะความเป็นพลเมืองดังกล่าว ทำาให้เห็นได้ว่า นอกเหนือจาก
ความแตกต่างระหว่างคำาว่าประชาชนกับคำาว่าพลเมืองแล้ว ความเป็นพลเมืองยังมีอีกหลาย
ระดับ ที่คณะผู้วิจัยเห็นว่าระดับของความเป็นพลเมืองนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่หนุนเสริม
ให้พลเมืองถูกจัดลำาดับหรือประเภทที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันกับคำาว่าประชาชนที่หมายถึง
31