Page 29 - kpiebook67035
P. 29
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ทางสังคมและวัฒนธรรม การเตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวให้สามารถเรียนรู้ เลือกสรร
กลั่นกรอง ประเมิน แยกแยะ คุณค่า และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน รวมไปถึงสามารถนำา
ความรู้มาประยุกตใช้ในการดำาเนินชีวิตในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ (วชิราภรณ
สังขทอง, 2554)
หากเปรียบเทียบร่างกายคือสังคม อาจเปรียบเทียบ “เซลลเป็นตัวบุคคล” ที่จะมีกระบวนการ
สร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นได้เองและเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยเกิดจากการสะสมผ่านกระบวนการ
เรียนรู้ การศึกษาอบรม และการขัดเกลาทางสังคม อีกทั้งอาจเปรียบเทียบ “เนื้อเยื่อเป็นครอบครัว”
เพราะครอบครัวเป็นหน่วยย่อยของสังคมที่มีความสำาคัญ ส่งผลต่อความมั่นคงและอ่อนแอ
ของสังคมได้ โดยถือว่าครอบครัวเป็นแหล่งบ่มเพาะและขัดเกลาตัวบุคคลในเรื่องต่าง ๆ และอาจ
เปรียบเทียบ “อวัยวะในร่างกายเป็นสถาบันทางสังคม” ที่สถาบันทางสังคมในส่วนต่าง ๆ ต้อง
ผนึกกำาลังกันเพื่อทำาให้สังคมโดยรวมเกิดความเข้มแข็งได้ (พิเชฐ บัญญัติ, 2547)
ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เราจึงจำาเป็นต้องใช้วัคซีนทางสังคม
(social vaccine) ในทางสาธารณสุข วัคซีนทางสังคมคือ การมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและ
นโยบายด้านสาธารณสุขที่คำานึงถึงมิติทางสังคมร่วมด้วย โดยให้ความสำาคัญกับความไม่เท่าเทียมกัน
ในสังคมและปัจจัยสังคมกำาหนดสุขภาพ (social determinants of health) ซึ่งเป็น
สภาพแวดล้อมของบุคคลที่เชื่อมโยงกับเงื่อนไขในการดำารงชีวิตประจำาวัน เช่น นโยบายและระบบ
เศรษฐกิจ วาระการพัฒนา บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคมและระบบการเมือง (World
Health Organization, 2022) แม้ว่าการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจะไม่สามารถจำาเพาะ
เจาะจงไปที่โรคใดโรคหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้ แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางหรือมาตรการ
ในการจัดการกับสถานการณทางสาธารณสุขได้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคและ
ความเป็นธรรมในสังคม (Thomas IN, 2006)
ในทำานองเดียวกัน ในแง่มุมด้านสังคมศาสตร การใช้วัคซีนทางสังคมก็คือการเสริมสร้าง
ภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ผ่านการดำาเนินนโยบายและ
มาตรการต่าง ๆ ที่คำานึงบริบทแวดล้อมของสังคมนั้น มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรมและลด
้
ความเหลื่อมลำาในสังคม โดยเชื่อว่าเมื่อสังคมมีภูมิคุ้มกันก็จะไม่เป็น “โรค” หรือทำาให้สังคม
มีความสงบสุขได้ นั่นคือ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งและ
ความเป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวและชุมชน ทั้งที่กระทำาด้วยตนเองและผลักดันเป็นนโยบายและ
ทิศทางการพัฒนาประเทศ (ประเวศ วะสี, 2542) แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคมจึงสอดคล้องกับ
27