Page 31 - kpiebook67035
P. 31
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ในลักษณะองครวม โดยเฉพาะสังคมที่มีคุณภาพ หมายถึงสังคมที่ประสบความสำาเร็จทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ และมีการพัฒนาให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเป็นธรรมทางสังคม
นอกจากนี้ สังคมที่มีคุณภาพระดับดีเป็นสังคมที่สมาชิกมีความสามารถและเข้าไปมี
ส่วนร่วมในสังคมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวจะอยู่
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพพื้นฐานและระบบสวัสดิการที่เหมาะสม
ในชุมชน ซึ่งการที่สมาชิกในชุมชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกกิจกรรมได้นั้น
ต้องมีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับ นั่นคือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (economic security)
การที่สมาชิกทุกคนได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน (social inclusion) อาศัยอยู่ในชุมชน
ที่มีความสมานฉันท (social cohesion) และมีการเสริมพลัง (social empowerment)
เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ (สุรสิทธิ์ วชิรขจร, 2553) คุณภาพสังคมเป็นการบูรณาการ
มิติที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของมนุษย แบ่งเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย
1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม คือ การที่ความต้องการพื้นฐานที่ได้รับการ
สนองตอบ ความจำาเป็นในการดำารงชีวิตในแต่ละวันของบุคคลที่ได้รับการตอบสนองโดยระบบ
และองคกรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการดูแลสวัสดิการในระดับพื้นฐานของความมั่นคง
ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่บุคคลพึงได้รับ ได้แก่ การคุ้มครองเกี่ยวกับความจำาเป็นพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ การมีงานทำา การมีสุขภาพที่ดี และการตอบสนองทางวัตถุในกรณีต่าง ๆ ความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคมจึงเป็นความมั่นคงทางทรัพยากรของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร
ทางการเงิน ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขภาพ การจ้างงาน ปัจจัยการผลิต และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ประชาชนจำาเป็นต้องเข้าถึงและเข้าร่วมในสถาบันต่าง ๆ รวมถึงการมีความสัมพันธทางสังคม
ในชีวิตประจำาวัน ในที่นี้การเข้าถึงทรัพยากรทางสังคมเป็นเรื่องสำาคัญของการสร้างความมั่นคง
ให้กับประชาชน
2) ความสมานฉันททางสังคม มีความเชื่อมโยงกับกระบวนการที่เป็นอุปสรรคหรือลดทอน
ความขัดแย้งของความร่วมมือที่เป็นเครือข่ายทางสังคม ทั้งนี้ ระดับของความสมานฉันทที่ยอมรับ
ได้จะต้องเป็นระดับที่ทุกคนในสังคมสามารถที่อยู่ในสังคมในฐานะมนุษยอย่างแท้จริง ในทาง
ตรงกันข้าม ความรุนแรงทางสังคมจะแสดงออกมาผ่านการแบ่งแยกระหว่างภูมิภาค ความรู้สึก
่
น้อยเนื้อตำาใจของชนกลุ่มน้อย การไม่เท่าเทียมกันในโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากรและการบริการ
ที่รัฐจะจัดหาให้ รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันของส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจ ซึ่งความสมานฉันท
ทางสังคมนี้จะเกี่ยวข้องกับสภาพทางสังคมที่เป็นวัตถุและความมีศักดิ์ศรีของมนุษย ความสมานฉันท
ทางสังคมจึงเป็นเรื่องความสัมพันธทางสังคม คุณค่าทางสังคม และบรรทัดฐานทางสังคม
29