Page 32 - kpiebook67035
P. 32

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          อันเป็นที่ยอมรับของส่วนรวม การสร้างความสามัคคีและความไว้วางใจร่วมกันในสังคม
          ซึ่งประกอบด้วย ความไว้วางใจทั่วไปหรือการไว้วางใจผู้อื่น และความไว้วางใจเฉพาะที่ที่มีต่อ
          สถาบันต่าง ๆ นอกจากนี้ความสามัคคีในสังคมยังรวมถึงการสร้างเครือข่ายทางสังคมและ
          การมีอัตลักษณ
             3) การรวมตัวกันทางสังคม มีความเกี่ยวข้องกับหลักของความเสมอภาคเท่าเทียมกัน รวมถึง
          โครงสร้างทางสังคมที่จะก่อให้เกิดสภาพการณของความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันดังกล่าว เป้าหมาย
          ของการรวมตัวกันทางสังคมคือ การครอบคลุมของบริการซึ่งเป็นผลมาจากการมีโครงสร้างพื้นฐาน
          ที่ดี สถานการณแรงงาน และลักษณะบริการหรือการตอบสนองทางวัตถุที่เป็นส่วนรวม โดยเฉพาะ
          การดูแลเกี่ยวกับกลไกที่ไม่ก่อให้เกิดการกีดกันขัดขวาง หรือลดระดับการเอารัดเอาเปรียบ
          ทางสังคมให้น้อยที่สุด การรวมตัวกันในสังคมจึงเป็นการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมกับ
          สถาบันต่าง ๆ รวมถึงการมีความสัมพันธทางสังคม การเข้าถึงบริการทางสังคมและทรัพยากร
          เพื่อช่วยให้ผู้ขาดแคลนสามารถกลับสู่เส้นทางหลักของสังคมได้อีกครั้ง นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้อง
          กับศักยภาพที่จะมีปฏิสัมพันธในบริบทของความสัมพันธทางสังคม ศักยภาพในการถ่ายทอด
          องคความรู้ต่าง ๆ สู่สังคมโดยความสัมพันธทางสังคม การสร้างพลังทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น
          องคความรู้ ตลาดแรงงาน การแบ่งเวลาให้งานและชีวิตครอบครัว
             4) การสร้างพลังทางสังคม คือ ความรู้สึกหรือสำานึกในความสามารถหรือสมรรถนะของ
          บุคคลที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งเป้าหมายหลัก
          ของการเสริมสร้างพลังคือการส่งเสริมให้คนสามารถเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพและมีอำานาจ
          อย่างแท้จริง การสร้างพลังทางสังคมจึงเป็นศักยภาพที่แสดงให้เห็นและการมีปฏิสัมพันธทาง
          สังคมเป็นการเสริมสร้างความสามารถเฉพาะตัวของปัจเจกบุคคลและศักยภาพในการถ่ายทอด
          ความสามารถดังกล่าวสู่สังคมผ่านความสัมพันธทางสังคม ตลอดจนการพัฒนาชีวิตของครอบครัว
          วัฒนธรรมและชุมชน ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีอำานาจในการบริหารจัดการและดำาเนินกิจกรรม
          ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง การสร้างพลังทางสังคมจึงมีเป้าหมายในการ
          ดึงศักยภาพของประชาชนในชุมชนให้สามารถมีอำานาจในการตัดสินใจได้เอง และสามารถนำา
          องคความรู้มาถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้


           2.5 แนวคิดความเป็นพลเมือง (Citizenship)
             พลเมือง คือ บุคคลผู้เป็นกำาลังสำาคัญของบ้านเมือง (สุภีร สมอนา, 2558, น.5) ข้อความ
          ดังกล่าวสามารถอธิบายให้ชัดเจนอย่างสอดคล้องกับที่เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์ (2559) กล่าวว่า



           30
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37