Page 37 - kpiebook67035
P. 37
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
กลุ่มภาคประชาสังคมที่มีบทบาทอย่างสำาคัญในการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของเมืองร่วมกับ
องคกรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนองคประกอบการจัดการ
ทุนทางวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ให้ประสบผลสำาเร็จตามไปด้วย
จากการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ แนวคิดความมั่นคงทางสังคม
(social security) แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคม
(social immunity) แนวคิดคุณภาพสังคม (social quality) แนวคิดความเป็นพลเมือง
(citizenship) ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำาไปสู่การกำาหนดกรอบการศึกษา กล่าวคือ การเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางสังคมเป็นการสร้างความรู้สึกถึงความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต สามารถรับมือกับ
ภัยคุกคามที่อาจจะส่งผลในอนาคตหรือความขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงในสถานะความเป็นอยู่ เช่น เมืองเชียงคานที่กำาลังเผชิญความท้าทายจากการ
เปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฉะนั้น จึงจำาเป็นต้องสร้างกลไกป้องกัน
สังคมขึ้นเพื่อให้สามารถรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อทำาให้สังคมเกิดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ทางสังคม (social immunity) ด้วยการใช้วัคซีนทางสังคม (social vaccine) ซึ่งเปรียบ
สังคมเป็นร่างกายมนุษย การฉีดวัคซีนทางสังคมจึงเป็นไปเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม
โดยการศึกษาวิจัยนี้ จะใช้ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) ของพื้นที่กรณีศึกษา นำาไป
ต่อยอดและสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เป็นวัคซีนทางสังคม
นั่นเอง
35