Page 40 - kpiebook67035
P. 40

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             3)  ผู้นำาหรือผู้แทนชุมชนในพื้นที่
             4) ปราชญชาวบ้าน ผู้นำาทางความคิด ผู้ทรงคุณวุฒิ
             5) ประชาชนในพื้นที่
             6) ประธานสภาวัฒนธรรมอำาเภอและประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด
             3.3.2 ขอบเขตด้านพื้นที่เป้าหมาย
             การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะดำาเนินการในพื้นที่เป้าหมายซึ่งมีหลักเกณฑ ดังนี้
             1) เป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
             2) เป็นพื้นที่ที่มีพื้นที่และระดับการพัฒนาเหมาะสม สำาหรับการพัฒนากระบวนการ
          การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมอันนำาไปสู่ความมั่นคงทางสังคม
          ในการนี้ โครงการวิจัยได้กำาหนดพื้นที่เป้าหมายคือ เทศบาลตำาบลเชียงคาน อำาเภอเชียงคาน
          จังหวัดเลย
             3.3.3 ขอบเขตด้านเนื้อหาและกระบวนการ
             การวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตด้านเนื้อหาและกระบวนการที่จะทำาการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย
             1) การสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
             2) การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม


           3.4 การรวบรวมข้อมูล
             โครงการศึกษาวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop method)
          เป็นกระบวนการกลั่นกรองความคิดที่มีอยู่ให้ออกมาจากรายบุคคล เพื่อนำาไปสู่ข้อถกเถียง
          แลกเปลี่ยนและสร้างความเข้าใจของกลุ่มที่ลึกซึ้ง จนสามารถตัดสินใจเป็นความเห็นพ้องร่วมกัน
          ได้อย่างเหมาะสม โดยขั้นตอนของการประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 5 ขั้นตอน กล่าวคือ
             ขั้นตอนที่ 1  บริบท (context) ที่กำาหนดขอบเขตการถกเถียงของกลุ่ม โดยปกติเป็นคำาถาม
          แบบรวมศูนย (focus question) ที่ทางกลุ่มต้องการคำาตอบ
             ขั้นตอนที่ 2  ระดมสมอง (brainstorm) เป็นการระดมข้อมูลและความคิดจาก 3 ระดับ
          ได้แก่ ระดับตัวบุคคล ระดับกลุ่มขนาดเล็ก และระดับที่ประชุมเต็มคณะ
             ขั้นตอนที่ 3  จัดหมวดหมู่ (cluster) ความคิดที่ได้จากการระดมสมอง นำาไปจัดเป็นหมวดหมู่
          ตามความคล้ายคลึงกัน
             ขั้นตอนที่ 4  ตั้งชื่อ (title) กลุ่มความคิดที่จัดหมวดหมู่แล้ว โดยให้สอดคล้องกับคำาถาม
          และคำาตอบที่ต้องการหาคำาตอบ



           38
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45