Page 35 - kpiebook67035
P. 35
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
(Model of participatory public policy process) ซึ่งมีองคประกอบที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน
ต่อการจัดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก กล่าวคือ
ปัจจัยภายในที่เกิดจากคนภายในพื้นที่ ได้แก่ 1) ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดเวที 2) ความร่วมมือ
ของหน่วยรับนโยบาย 3) หน่วยรับข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นผู้จัดการหลัก 4) ภาวะผู้นำาของ
ผู้บริหารท้องถิ่น 5) หน่วยงานมีประเด็นสาธารณะที่จะพัฒนามาก่อน 6) ผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะ
มีสัดส่วนพลเมืองที่อยู่ในระดับกระตือรือร้นเป็นส่วนใหญ่ 7) มีหน่วยงานเป้าหมายที่จะรับ
ข้อเสนอนโยบาย ขณะที่ปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดจากคนภายนอกที่ส่งผลต่อ
ความสำาเร็จของกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ ได้แก่ 1) กระบวนการจัดเวที จัดกิจกรรม
การมีส่วนร่วมในพื้นที่ต่าง ๆ และมีประชาชนมาร่วม มีผู้เอื้อกระบวนการเพื่อเป้าหมายอย่างใด
อย่างหนึ่ง และ 2) บทบาทขององคกรวิชาการ นอกจากปัจจัยภายในที่เกิดจากคนภายในพื้นที่แล้ว
ในการพัฒนานโยบายสาธารณะและนำาเสนอนโยบายนั้นจะต้องมีเป้าหมายในการนำาเสนอชัดเจน
ว่าจะเสนอต่อใครและหน่วยงานใดจะเป็นผู้ยอมรับประกาศเป็นนโยบายและนำาไปปฏิบัติ และ
ปัจจัยภายนอกถือว่าเป็นปัจจัยเสริมหรือปัจจัยร่วมกับปัจจัยภายในตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
หากการจัดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมมีปัจจัยที่กล่าวมาทั้งปัจจัย
ภายในและปัจจัยภายนอกจะช่วยทำาให้การดำาเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการ
พัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสำาหรับดำาเนินการได้สำาเร็จถึงขั้นผลักดันไปสู่ขั้นนำา
นโยบายไปปฏิบัติ
2.6.2 การพัฒนานวัตกรรมชุมชนจากการมีส่วนร่วมของชุมชน
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2565) ได้ทำาการศึกษาวิจัยนวัตกรรมชุมชนเพื่อเสริมสร้าง
้
ความเข้มแข็งและลดความเหลื่อมลำาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังวิกฤตการณ
COVID-19 กรณีศึกษา เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ผลการศึกษาที่สำาคัญคือ เมื่อชุมชน
เผชิญกับภาวะวิกฤติ เช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19 องคกรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อนำานวัตกรรมนั้นมาใช้ประโยชนสำาหรับ
คนในชุมชนได้ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ร่วมกันระดมความคิดเห็นค้นหาสิ่งที่ดี
ที่มีอยู่ในชุมชน จัดทำาแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนานวัตกรรมของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
และออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารของชุมชน ทำาให้เห็นว่านวัตกรรมเป็นผลที่เกิดขึ้น
จากการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชุมชน โดยเป็นการตัดสินใจและได้รับแรงสนับสนุน
จากชุมชน ซึ่งทำาให้นวัตกรรมชุมชนมีความแตกต่างไปจากนวัตกรรมสังคมอื่น ๆ โดยมุ่งเน้น
33