Page 30 - kpiebook67035
P. 30
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมที่มุ่งหวังให้การดำาเนินชีวิตของคนในสังคมได้รับการปกป้อง
และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
2.4 แนวคิดคุณภาพสังคม (Social quality)
คุณภาพสังคม (Social quality) เป็นแนวคิดกว้าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน เป็นอีกหนทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับ GDP ซึ่งคำานึงถึงสังคมในมุมกว้าง
มากกว่าการใช้ GDP ซึ่งวัดในทางเศรษฐกิจแบบแคบ ๆ อีกทั้งคุณภาพสังคมยังขยายขอบเขต
ไปวัดในมิติด้านสังคมและความก้าวหน้าทางสังคม นอกจากนี้ แนวคิดคุณภาพสังคมยังเป็น
แนวคิดที่มีความชัดเจนในเชิงทฤษฎี ที่ให้ความสำาคัญกับความสมดุลระหว่างความตระหนักถึง
ตนเอง และการมีส่วนร่วมที่หลากหลายที่เป็นการมองตัวปัจเจกกับการมองสังคมโลก และระหว่าง
โลกขององคกรต่าง ๆ
แนวคิดคุณภาพสังคมเกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในบริบทแวดล้อมของประเทศ
สมาชิกสหภาพยุโรป ด้านหนึ่งเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และอีก
ด้านหนึ่งเพื่อรักษาความมั่งคั่งของยุโรป ทำาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในนโยบายสาธารณะของ
ประเทศเหล่านั้น เนื่องจากการขยายตัวของระบบตลาดและแรงกดดันจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ส่งผลกระทบอย่างสำาคัญต่อปัญหาทางสังคมต่าง ๆ แนวคิดคุณภาพสังคมจึงเป็นการประนีประนอม
ระหว่างความจำาเป็นทางเศรษฐกิจและความจำาเป็นทางสังคม แนวคิดคุณภาพสังคมต้องการ
ปกป้องสังคมจากปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำาคัญของความ
ไม่ยุติธรรมทางสังคม อีกทั้งยังมีมิติที่เพิ่มเติมคือการยอมรับเป็นสมาชิกสังคมและความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวของสังคม ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดสิทธิความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตย
(นิธิ เนื่องจำานงค, 2553)
คุณภาพสังคมเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นจากนักวิชาการในยุโรปช่วงกลางของทศวรรษ 1990
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้นระหว่างการวัดผลการพัฒนา
โดยมุ่งเน้นตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวมาเน้นตัวชี้วัดทางด้านสังคมร่วมด้วย ซึ่งในช่วงแรก
ของการพัฒนาจะมุ่งเน้นให้ความสำาคัญกับการประยุกตใช้ในเชิงนโยบายและเริ่มมีการสร้าง
องคความรู้ในเชิงทฤษฎีมากขึ้นในช่วงต่อมา คุณภาพสังคมมีจุดเน้นทั้งในระดับสังคมและ
ปัจเจกบุคคล คุณภาพสังคมในภาพรวมไม่ใช่การหมายรวมเฉพาะการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิต
ที่ดีของสมาชิกแต่ละคนเท่านั้น แต่หมายถึงสภาพที่ดีขึ้นของสังคมโดยรวมและการมองสังคม
28