Page 25 - kpiebook67035
P. 25

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          ถือเป็นทุนทางสังคมอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชน ผ่านการตระหนักถึง
          ความสำาคัญของจิตวิญญาณชุมชน การสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี จนเป็นเครือข่าย หรือ
          กลุ่มในชุมชนที่จะนำาไปสู่การทำากิจกรรมการพัฒนาอื่นตามมา ทำาให้ชุมชนเกิดการพัฒนา
          อย่างสมดุลและยั่งยืน (อนันต คติยะจันทร และคณะ, 2564, น.192)
             สำาหรับ กัญญารัตน แก้วกมล และคณะ (2564) เห็นว่า “ทุนทางวัฒนธรรม” หมายถึง
          ทรัพยสินมรดกทางวัฒนธรรมอันมีมูลค่าและคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ที่ได้
          มีการสั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทั้งสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่
          จับต้องได้ เช่น วัตถุสิ่งของต่าง ๆ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่จับต้องไม่ได้
          เช่น ภูมิปัญญา ความรู้ ความเชื่อ และค่านิยม เป็นต้น ทรัพยสินมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้
          จะถูกนำามาแปลงให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมูลค่าในตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปสินค้า (กัญญารัตน
          แก้วกมล และคณะ, 2564, น.77)
             ณัชชา ศิรินธนาธร (2561) กล่าวถึงความหมายของทุนทางวัฒนธรรม โดยกล่าวนำาถึง
          ความหมายของทุนก่อนว่าเป็นการอ้างถึงทุนทางสังคมที่เอื้อประโยชนในเชิงเศรษฐกิจ โดยทุน
          ในสังคมมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดทุนทางสังคมในตะวันตกที่ให้ความสำาคัญกับคนและ
          คุณค่าของวัฒนธรรมที่มีอยู่ซึ่งส่งผลต่อความร่วมแรงร่วมใจในชุมชนในการแก้ไขปัญหา ทุนทาง
          วัฒนธรรมจึงหมายถึงสิ่งที่บุคคลได้รับจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมจนกลายเป็น
          คุณสมบัติประจำาตัว และแสดงออกผ่านทางพฤติกรรม เช่น ความรู้ รสนิยม กิริยามารยาท
          นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงทรัพยสินที่มีคุณค่า เช่น งานศิลปะ หนังสือ เอกสารรับรองทางวิชาการ
          ฯลฯ (ณัชชา ศิรินธนาธร, 2561, น.1585-1587)
             คณะผู้วิจัยขอสรุปความหมายของทุนทางวัฒนธรรมในงานวิจัยนี้ ว่าหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า
          และสืบทอดกันมาของแต่ละชุมชนหรือพื้นที่ ซึ่งสามารถทำาให้เกิดประโยชนต่อคนในพื้นที่นั้น
          ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้
             ในทัศนะของผู้วิจัย ทุนทางวัฒนธรรมเป็นแนวคิดหนึ่งที่ค่อนข้างมีความเป็นนามธรรมสูง
          จึงได้มีความพยายามแบ่งประเภทหรือจำาแนกองคประกอบของทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งพบได้เป็น
          2 แนวทางที่มีการแบ่งเอาไว้ แนวทางแรกแบ่งตามการจับต้อง ส่วนแนวทางที่สองแบ่งตามประเภท
          ในส่วนของการแบ่งแบบจับต้องนั้นสอดคล้องกับ Throsby (1999) มองว่า ทุนทางวัฒนธรรมอาจ
          ถูกมองได้ 2 รูปแบบ คือ มีตัวตน (จับต้องได้) และไม่มีตัวตน (จับต้องไม่ได้) ทุนทางวัฒนธรรม
          ที่จับต้องได้ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นในรูปแบบของงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ เช่น ภาพวาด ประติมากรรม
          อาคารบ้านเรือนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ฯลฯ ขณะที่ทุนทางวัฒนธรรมแบบจับต้องไม่ได้



                                                                        23
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30