Page 23 - kpiebook67035
P. 23

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          ทางสังคมในเชิงจิตวิสัยดังที่ Dreze and Sen (1991) ได้วิพากษไว้ว่าอาจไม่ได้สะท้อนถึง
          ความขาดแคลนที่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้มุ่งวัดความมั่นคงทางสังคมเชิงรายได้
          หรือเศรษฐกิจ หากแต่เน้นศึกษาในเชิงว่ากิจกรรมที่เสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมส่งผลอย่างไร
          บ้างต่อความมั่นคงทางสังคม จึงเป็นการให้ความหมายของความมั่นคงทางสังคมที่เหมาะสม
          เป็นกรอบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
             สำาหรับการทำาให้เกิดความมั่นคงทางสังคม Atkinson and Hills (1991) ได้ทบทวนการ
          สร้างความมั่นคงทางสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมักประกอบด้วยกรอบสำาคัญสามประการ
          ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างรายได้หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้แก่
             1) ความช่วยเหลือทางสังคมที่ถูกออกแบบมาเพื่อบรรเทาความยากจน เพื่อเป็นการประกัน
                                                                ่
          รายได้พื้นฐาน หรือในยามฉุกเฉิน เช่น การให้การช่วยเหลือด้านรายได้ขั้นตำาในฝรั่งเศส หรือ
          การให้สวัสดิการในอเมริกา เป็นต้น
             2) การประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาความมั่นคงและการกระจายของรายได้
          ตลอดชีวิต เช่น การจ่ายประกันสังคมแห่งชาติในอังกฤษ ผลประโยชนกรณีว่างงานในฝรั่งเศส
          เป็นต้น
             3) การกระจายความมั่นคงไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การจัดสรรผลประโยชนให้กับ
          กลุ่มเด็ก หรืองบประมาณสนับสนุนที่เกี่ยวกับครอบครัวในอเมริกา เป็นต้น
             ความจำาเป็นของการมีโครงการด้านความมั่นคงทางสังคมเหล่านี้ ประการแรกคือ ปัญหา
          ทางสังคมมีการขยายวงกว้างและความขาดแคลนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำาให้เกิดสภาวะความ
          ล้มเหลวต่อความสามารถและความจำาเป็นพื้นฐาน กับประการที่สอง เมื่อมีประเด็นอ่อนไหว
          จะกระทบต่อความมั่นคงในสถานะความเป็นอยู่ ซึ่งภาวะอ่อนไหวอาจเป็นผลจากบริบท
          เชิงบุคคลอย่างความเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของเสาหลักของครอบครัว หรือไม่ก็เป็นผลจาก
          ความผันผวนของบริบททางสังคมอย่างเช่น ความล้มเหลวทางการเพาะปลูก สงครามกลางเมือง
          เป็นต้น (Dreze & Sen, 1991, p.10)
             อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำาลังพัฒนาต่างมีข้อจำากัดหรืออุปสรรค
          ในการดำาเนินนโยบายโครงการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม ประเทศกำาลังพัฒนาอาจ
          พบข้อจำากัดในเชิงงบประมาณทำาให้ไม่สามารถผลักดันโครงการด้านประกันสังคมจนทำาให้คน
          ในสังคมไม่รู้สึกถึงความปลอดภัยทางรายได้ หรืออาจมีข้อจำากัดในเชิงการบริหารงานของ
          หน่วยงานรัฐอีกมากมายในขั้นตอนของการนำานโยบายไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น การเสริมสร้าง
          ความมั่นคงทางสังคมในมิติใหม่ อาจไม่ใช่เพียงหน่วยงานรัฐ รัฐส่วนกลางที่จะเป็นผู้ออกนโยบาย



                                                                        21
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28