Page 22 - kpiebook67035
P. 22

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          มาตรฐานที่บ่งบอกความมั่นคงทางสังคมในมุมมอง “โภคภัณฑ รายได้ และคุณภาพชีวิต” ยังอาจ
          แตกต่างหรือผันแปรในแต่ละบุคคล เช่น ระดับแคลอรีที่บ่งบอกภาวะโภชนาการที่สมบูรณขึ้นกับ
          ขนาดร่างกาย เพศ อายุ ฯลฯ หรือการเปรียบเทียบความขาดแคลนระหว่างบุคคลไม่อาจทำาได้
          โดยการเปรียบเทียบเพียงโภคภัณฑเท่านั้น หรือการเปรียบเทียบรายได้และความยากจนว่าเป็น
          ตัวชี้วัดความมั่นคงทางสังคมก็เป็นปัญหาหรือมีความบิดเบือนอีกเช่นกัน (Dreze & Sen, 1991,
          pp.5-9) ความมั่นคงทางสังคมในมิตินี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Shorani et al. (2021)
          ที่ศึกษาความมั่นคงทางสังคมในเชิงความรู้สึก เช่น ชีวิต การเงิน สติปัญญา อาชีพ ฯลฯ
             3) มาตรฐานความเป็นอยู่และความสามารถ เป็นแนวทางการมองความมั่นคงทางสังคม
          ที่หลุดพ้นจากการมองแบบจิตวิสัยและแบบรายได้ มุมมอง “มาตรฐานความเป็นอยู่และความ
          สามารถ” เป็นตัวแปรในการวิเคราะหคุณภาพชีวิตทั่วไป ขณะเดียวกันก็วิเคราะหความขาดแคลน
          และความยากจนโดยเฉพาะ มุมมองนี้มีรากฐานแนวคิดว่าหากชีวิตเป็นชุดของการกระทำาและ
          ความเป็นอยู่ซึ่งมีคุณค่า การประเมินคุณภาพชีวิตจึงเป็นการประเมินความเป็นอยู่และการกระทำา
          เพื่อความเป็นอยู่ที่มีคุณค่านั้น ดังนั้น ความพึงพอใจ ความปรารถนา รายได้ โภคภัณฑ จึงค่อนข้าง
          “ปลอม” ที่จะบ่งบอกว่าเป็นความมั่นคงทางสังคม ในมุมมองนี้ มาตรฐานความเป็นอยู่และ
          ความสามารถให้ได้มันมาต่างหากที่เป็นความมั่นคงทางสังคมอย่างแท้จริง
             4) ความยากจนและความขาดแคลน เป็นมุมมองที่ได้รับการกล่าวถึงในการวัดความมั่นคง
          ทางสังคม เพราะแม้แนวทาง “มาตรฐานความเป็นอยู่และความสามารถ” จะบ่งบอกความมั่นคง
          ทางสังคมได้ในหลายสภาพปัญหา แต่ในกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความยากจนมักจะพบ
                                                      ่
          ความล้มเหลวของความสามารถที่จะได้มาซึ่งความจำาเป็นขั้นตำาของชีวิต อย่างความสามารถ
          ให้ได้มาซึ่งโภชนาหาร เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย การเสียชีวิตที่ป้องกันได้ ฯลฯ ได้กลายมาเป็นตัวแปร
          ของความมั่นคงทางสังคมแทน
             แนวคิดว่าด้วยมั่นคงทางสังคมนั้น ให้ความรู้สึกถึงความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ตามนิยาม
          และความหมายที่ Burgess & Stern และ Dreze & Sen ได้ให้ไว้ หากเมื่อค้นหาความหมาย
          ความมั่นคงทางสังคมในภาษาอังกฤษ คือ Social security จะพบว่ามีผู้ที่ทำาการศึกษาในเรื่องนี้
          ไปในเชิงเศรษฐกิจ รายได้ การประกันสังคมในภาคแรงงาน เสียเป็นส่วนมาก ดังข้อสังเกตของ
          Atkinson & Hills (1991) ที่ทำาการเปรียบเทียบบทเรียนจากนโยบายด้านความมั่นคงทางสังคม
          ในประเทศพัฒนาแล้ว สำาหรับงานวิจัยนี้ ให้ความสำาคัญกับความมั่นคงทางสังคมในมิติของสังคม
          โดยให้หมายถึง ความสำาเร็จของกิจกรรมหรือการดำาเนินการเพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
          ในเชิงสังคม โดยพิจารณาได้จากความรู้สึกของคนที่อยู่ในสังคมนั้น ๆ ซึ่งเป็นการมองความมั่นคง



           20
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27