Page 17 - kpiebook67035
P. 17

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคมจึงสอดคล้องกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมที่มุ่งหวังให้การ
          ดำาเนินชีวิตของคนในสังคมได้รับการปกป้องและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
             การใช้วัคซีนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมตามแนวทางของโครงการวิจัยนี้
          คือ การใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาพื้นที่ผ่านกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
          แบบมีส่วนร่วม เนื่องจากการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จะเป็นการ
          นำาองคความรู้ในมิติทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
          ประเพณี และภูมิปัญญา มาใช้เป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำาให้สังคมเกิดความเข้มแข็งและนำาไปสู่สังคม
          ที่อยู่เย็นเป็นสุขได้ (กระทรวงวัฒนธรรม, 2557) ด้วยการที่ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital)
          เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ซึ่งมีทั้งที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน มรดก
          ทางวัฒนธรรม ผลงานศิลปะ ภาพวาด หัตถกรรม ดนตรี ภาพยนตร วรรณกรรม และทุน
          ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ความเชื่อ จารีต ประเพณี วิถีชีวิต โดย Pierre Bourdieu
          มีทัศนะว่า ทุนวัฒนธรรมจะปรากฏให้เห็น 3 รูปแบบ ได้แก่ เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในตัวคนหรือกลุ่มคน
          เช่น ความคิด จินตนาการ ความคิดริเริ่ม ความเชื่อ อีกทั้งเป็นสิ่งที่เป็นรูปลักษณและเป็นตัวตน
          เช่น ภาพวาด เครื่องมือ อุปกรณ สิ่งก่อสร้าง สถานที่ที่เป็นมรดกโลก และมีความเป็นสถาบัน เช่น
          กติกา การยอมรับที่หลายคนเห็นร่วมกัน เช่น ประเพณีหรือกิจกรรมร่วมกันของสังคม เป็นต้น
          รังสรรค ธนะพรพันธ (2546) กล่าวไว้อย่างสอดคล้องกัน เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน
          ทุนวัฒนธรรมจึงสามารถใช้เป็นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีนัยทางวัฒนธรรมฝังตัวอยู่
          ที่นำาไปสู่การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
             งานวิจัยของ Younes Ezati และคณะ (2020) ได้ทำาการศึกษาบทบาทของทุนทางวัฒนธรรม
          ที่มีผลต่อความมั่นคงทางสังคม โดยมีกรณีศึกษาคือ จังหวัดอีแลม (Ilam Province) ประเทศ
          อิหร่าน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีอาศัยอยู่ในจังหวัดอีแลม อายุระหว่าง 18-60 ปี ซึ่งผล
          การศึกษาชี้ให้เห็นว่า ตัวแปรในสังคม ได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม สวัสดิการสังคม ความเชื่อ
          ความสัมพันธของครอบครัว  มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางสังคมโดยตรง  ขณะเดียวกัน
          งานวิจัยในประเทศไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นการนำาทุนทางวัฒนธรรม
          ไปใช้เสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น งานของอัษฎาวุฒิ ศรีทน และอุมารินทร ตุลารักษ
          (2564) เรื่อง ทุนทางวัฒนธรรมในมิติการท่องเที่ยวชุมชนที่อธิบายผ่านเรื่องเล่า ตำานานประวัติศาสตร
          ท้องถิ่น ในวิถีชีวิตชุมชน รวมถึงงานของวันโชค หุ่นผดุงรัตน (2564) เรื่อง การศึกษาทุนทาง
          วัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหย่อมบ้านวังไผ่
          ตำาบลท่าตอน อำาเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมในมิติการท่องเที่ยว



                                                                        15
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22